1.1.1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ พร้อมกันนั้นพระพุทธศาสนามีความสำาคัญในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นสถาบันหลักที่อยู่คู่ กับสังคมไทยสืบมา พระพุทธศาสนามีความสำคัญอยู่ 6 ประการ ครอบคลุม 1) พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ 2) พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ 3) พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทย 4) พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ 5) พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย และ 6) พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย

1. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ

ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ประมาณร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้น การดำเนินชีวิตของ คนในสังคม ตลอดจนประเพณีและ วัฒนธรรมไทยจึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

2. พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

วิถีชีวิตของคนไทยไดัรับการผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพุทธศาสนา ศิลปะ จิตรกรรม และประติมากรรม ส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นซึ่งนับถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทยนับแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากนี้วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการส่วนใหญ่เกี่ยวข่องกับพระพุทธศาสนา รวมถึงพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก (อ่านว่า อัก-คระ-สา-สะ-นู-ปะ-ถา-พก) ของทุกศาสนา

3. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรม ประเพณีของไทยล้วนมีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันเข้าพรรษาออกพรรษา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน

4. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ

พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางศาสนา มีพระสงฆ์เป็นผู้ทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนและการปฏิบัติตนทางศาสนา เพื่อพัฒนาจิตใจและลักษณะนิสัยของพุทธศาสนิกชน

5. พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมที่ดีงาม ล้วนมีที่มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ความสุภาพอ่อนโยน ความมีเมตตา รวมไปถึงความมีน้ำใจโอบอ้อมอารี ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของพุทธศาสนิกชนที่ควรสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมต่อไป

6. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย

หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาช่วยขัดเกลาส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนทางสังคมให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงามจนกลายเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักทศพิธราชธรรมซึ่งเป็นการนำาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาชาติไทยส่งผลให้ชาติไทยพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สังคมไทยเป็นสังคมชาวพุทธ วิถีชีวิตของคนไทยได้รับการผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากพระพุทธศาสนา หลักธรรมคำาสอนของพระพุทธศาสนาขัดเกลาจิตใจให้พุทธ-ศาสนิกชนมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น รู้จักการให้อภัย หล่อหลอมให้คนไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ว่า “คนไทยมีจิตใจอ่อนโยนและยิ้มแย้มแจ่มใส” พระพุทธศาสนาจึงถือเป็นสถาบันหลักที่สำาคัญอย่างยิ่งต่อชาติไทย

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

เทคโนโลยีในการสื่อสารกับผู้ปกครอง: การเชื่อมต่อและสร้างความเข้าใจในยุคดิจิทัล

ทำความรู้จักเทคโนโลยีที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้ปกครอง! บทความนี้เสนอแนวทางการใช้แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างโรงเรียนและครอบครัวผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ติดตามความก้าวหน้าของบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าใจในข้อมูลที่สำคัญของเด็กๆ อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย...

About ครูออฟ 1254 Articles
https://www.kruaof.com