1.1.1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ พร้อมกันนั้นพระพุทธศาสนามีความสำาคัญในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นสถาบันหลักที่อยู่คู่ กับสังคมไทยสืบมา พระพุทธศาสนามีความสำคัญอยู่ 6 ประการ ครอบคลุม 1) พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ 2) พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ 3) พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทย 4) พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ 5) พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย และ 6) พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย

1. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ

ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ประมาณร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้น การดำเนินชีวิตของ คนในสังคม ตลอดจนประเพณีและ วัฒนธรรมไทยจึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

2. พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

วิถีชีวิตของคนไทยไดัรับการผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพุทธศาสนา ศิลปะ จิตรกรรม และประติมากรรม ส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นซึ่งนับถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไทยนับแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน นอกจากนี้วันสำคัญที่เป็นวันหยุดราชการส่วนใหญ่เกี่ยวข่องกับพระพุทธศาสนา รวมถึงพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก (อ่านว่า อัก-คระ-สา-สะ-นู-ปะ-ถา-พก) ของทุกศาสนา

3. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรม ประเพณีของไทยล้วนมีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันเข้าพรรษาออกพรรษา ซึ่งก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน

4. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ

พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางศาสนา มีพระสงฆ์เป็นผู้ทำหน้าที่เผยแผ่หลักธรรมคำสอนและการปฏิบัติตนทางศาสนา เพื่อพัฒนาจิตใจและลักษณะนิสัยของพุทธศาสนิกชน

5. พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมที่ดีงาม ล้วนมีที่มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ความสุภาพอ่อนโยน ความมีเมตตา รวมไปถึงความมีน้ำใจโอบอ้อมอารี ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยของพุทธศาสนิกชนที่ควรสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมต่อไป

6. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย

หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาช่วยขัดเกลาส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนทางสังคมให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงามจนกลายเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักทศพิธราชธรรมซึ่งเป็นการนำาหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาชาติไทยส่งผลให้ชาติไทยพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สังคมไทยเป็นสังคมชาวพุทธ วิถีชีวิตของคนไทยได้รับการผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากพระพุทธศาสนา หลักธรรมคำาสอนของพระพุทธศาสนาขัดเกลาจิตใจให้พุทธ-ศาสนิกชนมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น รู้จักการให้อภัย หล่อหลอมให้คนไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ว่า “คนไทยมีจิตใจอ่อนโยนและยิ้มแย้มแจ่มใส” พระพุทธศาสนาจึงถือเป็นสถาบันหลักที่สำาคัญอย่างยิ่งต่อชาติไทย

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

ปรินิพพาน (ตาย)

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี มีพุทธสาวกเป็นจำนวนมาก พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน (ดับ-ขัน-ธะ-ปะ-ริ-นิบ-พาน หมายถึง ตาย) ขณะพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่ใต้ต้นสาละ ณ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖...

About ครูออฟ 1185 Articles
https://www.kruaof.com