ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานมีความเชื่อว่า หากต้องการให้การเรียนรู้มีพลัง และฝังในตัวผู้เรียนได้ ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เรียนโดยการลงมือทําเป็นโครงการ (Project) ร่วมมือกันทํา เป็นทีม และทํากับปัญหาที่มีอยู่ในชีวิตจริง โดยผู้เขียนได้ปรับปรุงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ โครงงานเป็นฐานตามแนวคิดของ วิจารณ์ พาณิช (2555 : 71-75) ดังนี้

1. การกําหนดหัวข้อโครงงาน (Define) คือ ขั้นตอนการทําให้สมาชิกของทีมงาน รวมทั้งครูด้วยมีความชัดเจนรวมกันว่า คําถาม ปัญหา ประเด็น ความท้าทายของโครงการคืออะไร และ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อะไร

2. การวางแผนทําโครงงาน (Plan) คือ การวางแผนการทํางานในโครงการ ครูก็ต้อง วางแผน กําหนดทางหนีทีไล่ในการทําหน้าที่โค้ช รวมทั้งเตรียมเครื่องอํานวยความสะดวกในการทํา โครงการของนักเรียน และที่สําคัญ เตรียมคําถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสําคัญบาง ประเด็นที่นักเรียนมองข้าม โดยถือหลักว่า ครูต้องไม่เข้าไปช่วยเหลือจนทีมงานขาดโอกาสคิดเอง แก้ปัญหาเอง นักเรียนที่เป็นทีมงานก็ต้องวางแผนงานของตน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ การประชุม พบปะระหว่างทีมงาน การแลกเปลี่ยนข้อค้นพบแลกเปลี่ยนคําถาม แลกเปลี่ยนวิธีการ ยิ่งทําความเข้าใจ ร่วมกันไว้ชัดเจนเพียงใด งานในขั้น Do ก็จะสะดวกเลื่อนไหลดีเพียงนั้น

3. การปฏิบัติตามแผนโครงงาน (Do) คือ การลงมือทํา มักจะพบปัญหาที่ไม่คาดคิด เสมอ นักเรียนจึงจะได้เรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา การประสานงาน การทํางานร่วมกันเป็นทีม การจัดการความขัดแย้ง ทักษะในการทํางานภายใต้ทรัพยากรจํากัด ทักษะในการค้นหาความรู้เพิ่มเติม ทักษะในการทํางานในสภาพที่ทีมงานมีความแตกต่างหลากหลาย ทักษะการทํางานในสภาพกดดัน ทักษะในการบันทึกผลงาน ทักษะในการวิเคราะห์ผล และแลกเปลี่ยนข้อวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมทีม เป็นต้น ในขั้นตอน Do นี้ นักเรียนจะได้มีโอกาสสังเกตทําความรู้จักและเข้าใจศิษย์เป็นรายคน และ เรียนรู้หรือฝึกทําหน้าที่เป็นโค้ชด้วย

4. การถอดบทเรียน (Review) คือ การที่นักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ ทบทวนว่า โครงการได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่ แต่จะต้องเน้นทบทวนว่างานหรือกิจกรรม หรือ พฤติกรรมแต่ละขั้นตอนได้ให้บทเรียนอะไรบ้าง เอาทั้งขั้นตอนที่เป็นความสําเร็จและความล้มเหลวมาทําความเข้าใจ และกําหนดวิธีทํางานใหม่ที่ถูกต้องเหมาะสมรวมทั้งเอาเหตุการณ์ระทึกใจ หรือเหตุการณ์ที่ภาคภูมิใจ ประทับใจ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ขั้นตอนนี้เป็นการเรียนรู้แบบทบทวนไตร่ตรอง (reflection) หรือในภาษา KM เรียกว่า AAR (After Action Review)

5. การนําเสนอผลงาน (Presentation) คือ การนําเสนอผลผลิต ผลการค้นพบ หรือผลการแก้ปัญหา เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือนําเสนอต่อสังคมระดับโรงเรียน หรือระดับชุมชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้นําไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เป็นขั้นตอนที่ให้การเรียนรู้ทักษะอีกชุดหนึ่ง ต่อเนื่องกับขั้นตอน Review เป็นขั้นตอนที่ทําให้เกิดการทบทวนขั้นตอนของงาน และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเข็มข้น แล้วเอามานําเสนอในรูปแบบที่เร้าใจ ให้อารมณ์และให้ความรู้ (ปัญญา) ทีมงาน ของนักเรียนอาจสร้างนวัตกรรมในการนําเสนอก็ได้ โดยอาจเขียนเป็นรายงาน และนําเสนอเป็นการรายงานหน้าชั้น มีเพาเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ประกอบ หรือจัดทําวีดิทัศน์นําเสนอ หรือนําเสนอเป็นละคร เป็นต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

เริ่มต้นการใช้งาน kidBright

การใช้งานโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง kidbright IDE เพื่อสั่งให้บอร์ด KidBright ทำงานตามคำสั่ง สามารถเข้าใช้งานได้โดยการดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไปที่ลิงค์ https://www.kidbright.org/simulator/home การทดลองเขียนโปรแกรม โดยการใช้งานบอร์ด Kidbright สามารถเชื่อมต่อบอร์ดกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทดลองการเขียนโปรแกรม โดยทำการติดตั้ง ไดรเวอร์ USB ของบอร์ด KidBright...

กิจกรรมบูรณาการวิชาสุขศึกษา

กิจกรรมวิชาการ ของวิชาสุขศึกษา และวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนตอบคำถาม ตาม Google form ข้างล่างนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScFxCcmY6Lznsb3bItrwiEQPn31sgEqGtUd3_hf6NNWqDaAfQ/viewform...

About ครูออฟ 1178 Articles
https://www.kruaof.com