การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) และปรากฏการณ์ (Phenomenalism) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริง ของสิ่งที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณนา วิเคราะห์และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เน้นอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนและสังคม ที่ต้องการคําตอบว่า ทําไม และอย่างไร มากกว่า ที่จะบอกว่า ใครทําอะไร มีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ได้ผลการวิจัยในเชิงลึกเฉพาะกรณี ไม่เน้นการอ้างอิงไปยังประชากรกลุ่มอื่นๆ (Generalization) กลุ่มตัวอย่างไม่มากเน้นการศึกษาที่เลือกเฉพาะกลุ่มที่ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informant) เป็นการศึกษาที่ให้ความสนใจบริบทของสิ่งที่ศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ (Stakeholders) เน้นการนําเสนอผลการวิจัยมีสีสันโดยการเล่าเรื่อง (Narrative) ทําให้น่าสนใจเพราะคนส่วนใหญ่มักสนใจอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของคนและสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นการวิจัยที่ไม่ให้น้ำหนักกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณมากนักจึงไม่จําเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงมาช่วยอธิบาย ดําเนินวิจัยไปได้อย่างอิสระโดยทําในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ (Naturalistic) และเน้นการศึกษาวิจัยภาคสนามทําให้ได้รายละเอียดของข้อมูลและผลสรุปที่ละเอียดรอบด้าน ใช้ตรรกะแบบอุปมานเป็นหลักเพื่อทําความเข้าใจแบบองค์รวม (Holistic) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการออกแบบวิจัย จึงไม่นิยมเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย และนักวิจัยเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุด ข้อจํากัดของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ไม่เน้นการสรุปอ้างอิงจากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ ผลการวิจัยจึงไม่แพร่กระจายและมักใช้ประโยชน์ได้เฉพาะกลุ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลไม่แกร่งเหมือนข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นค่าสถิติหรือตัวเลข เพราะเน้นข้อมูลที่เป็นข้อความ คําพูด รูปภาพ ของจริง ร่องรอย หรือหลักฐานต่างๆ และ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเชิงเหตุผลหรือให้เหตุผลในเชิงตรรกะ (Logic Reasoning) ซึ่งต้องใช้การแปลความหมายด้วย เทคนิคค่อนข้างสูง ซึ่งหากวิเคราะห์ไม่ดีจะทําให้ผลการวิจัยขาดความน่าเชื่อถือหรือบิดเบือนไปจากความจริง (สุบิน ยุระรัช. 2559 : 11)

image 28
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษา

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษาเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง นี่คือการนำเสนอวิธีการและประโยชน์ของการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสื่อสารกับผู้ปกครอง: 1. แพลตฟอร์มการสื่อสารเฉพาะด้านการศึกษา เครื่องมืออย่าง ClassDojo, Seesaw, และ Edmodo เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการสื่อสารระหว่างครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโดยเฉพาะ ผู้ปกครองสามารถติดตามความก้าวหน้าของบุตรหลาน และรับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็วและสะดวก 2. อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัล การใช้อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้ปกครอง ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด นอกจากนี้ยังสามารถแนบไฟล์หรือเอกสารสำคัญเพิ่มเติมได้ 3. แอปพลิเคชันสำหรับการส่งข้อความ แอปพลิเคชันเช่น LINE, WhatsApp, และ...

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

About ครูออฟ 1256 Articles
https://www.kruaof.com