10.1.1 บทบาท หน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล

บทบาทและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์กรที่ทำหน้าที่บริหารงานในท้องถิ่นมีผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่น เข้ามาทำาหน้าที่บริหารงานภายในพื้นที่

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. เทศบาล
  2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
  3. องค์การบริหารส่วนตำาบล (อบต.)
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการบริหารงานในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในเขตพื้นที่ หน้าที่ที่สำาคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น

  1. จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  2. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ ทางระบายน้ำ การกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล
  3. สร้างสิ่งก่อสร้างสาธารณะในท้องถิ่น เช่น ถนน ทางเท้า น้ำประปา และดูแลรักษาสถานที่สาธารณะ
  4. ส่งเสริมให้มีการลงทุนในท้องถิ่น
  5. ส่งเสริมการฝึกอาชีพให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
  6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
  7. ส่งเสริมด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  8. ดูแลและบำารุงรักษาศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
  9. จัดให้มีและบำารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น สวนสาธารณะ
  10. ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
  11. ป้องกันโรคติดต่อและระงับโรคติดต่อ
  12. การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
  13. ดูแลรักษาความสงบและความเป็นระเบียบในท้องถิ่น เช่น ด้านการขนส่ง ด้านการก่อสร้างอาคาร
  14. ดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  15. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในท้องถิ่น

บทบาทและหน้าที่ของรัฐบาล

รัฐบาล คือ คณะบุคคลที่ใช้อำานาจอธิปไตยกำาหนดนโยบายบริหารประเทศ เป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประเทศไทยมีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ครอบคลุม (1) การบริหารราชการส่วนกลาง (2) การบริหารราชการส่วนภูมิภาค และ (3) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารงานในระดับประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่และพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า เช่น

  1. พิทักษ์รักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. อนุรักษ์ ฟื้นฟู ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี
  3. รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  4. คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
  5. คุ้มครองและจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ และผู้พิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
  6. อุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างประชาชนที่นับถือศาสนาต่าง ๆ
  7. จัดทำาบริการสาธารณสุขและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
  8. จัดการศึกษาภาคบังคับแก่เด็กทุกคน
  9. อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชาติ
  10. คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
  11. ส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือที่ดีกับต่างประเทศ เช่น การค้า การลงทุน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
  12. จัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
Print Friendly, PDF & Email