แผนที่ คือ สิ่งที่แสดงลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวโลก โดยนำามาแสดงบนพื้นราบด้วยการย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลง มีการใช้สี เส้น เครื่องหมาย สัญลักษณ์ทิศ และมาตราส่วนที่กำาหนดขึ้นมาแทนลักษณะภูมิประเทศจริง
แผนที่สำคัญที่แสดงข้อมูลลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่ดิน แผนที่ลุ่มน้ำแผนที่ป่าไม้
แผนที่ภูมิประเทศของไทยแสดงให้เห็นระบบลำน้ำ เช่น แผนที่ภูมิประเทศเป็นแผนที่แสดงระดับความสูง-ต่ำของพื้นที่ ซึ่งความสูง-ต่ำของพื้นที่สัมพันธ์กับการไหลของน้ำ สัมพันธ์กับพืชพรรณธรรมชาติและสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในด้านการประกอบอาชีพและการใช้ที่ดิน
แผนที่ภูมิประเทศทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย ดังนี้
- ทิวเขาในประเทศไทยส่วนใหญ่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้
- แผนที่ภูมิประเทศของไทยแสดงให้เห็นระบบลำน้ำ เช่น
- ภาคกลาง มีภูมิประเทศต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ดังนั้น ลำน้ำจึงพัดพาดินตะกอนมาทับถมในที่ราบลุ่มภาคกลาง
- ภาคตะวันออก มีกลุ่มภูเขาสูงอยู่ตอนกลาง เช่น กลุ่มเขา เขาเขียว กลุ่มเขาชะเมา กลุ่มเขาสอยดาว ทำาให้มีระบบลำานำ้าไหลผ่านทุกทิศทางเช่น ลำพระสะทึงไหลไปทางเหนือ คลองระบมสียัดไหลไปทางตะวันตก คลองใหญ่ คลองประแสไหลลงทางใต้ และคลองพระพุทธไหลไปทางตะวันออก
- ภาคใต้ เป็นคาบสมุทร มีทิวเขาเป็นแกนกลาง มีชายฝั่งทั้งสองด้าน ทั้งด้านทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีระบบลำน้ำไหลจากตอนกลางคาบสมุทรสู่ชายฝั่งทั้งสองด้าน
- ประเทศไทยมีภูมิประเทศที่หลากหลาย ทั้งภูเขาสูง ที่ดอน ที่ราบที่ราบลุ่ม ภาคเหนือมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีที่ราบสูง ภาคกลางมีที่ราบ ภาคตะวันออกมีชายฝั่งภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร มีเกาะอยู่ชายฝั่งทะเลสองด้าน ทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ภูมิประเทศดังกล่าวทำาให้ประชากรมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจและมีวิถีชีวิตทางสังคมที่หลากหลาย
ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างละติจูด ๕ องศา ถึง ๒๐ องศาเหนือ จัดอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ๒ ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
แผนที่รัฐกิจมีความสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงมิติสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง ขอบเขตการปกครอง ทั้งระดับประเทศ ภูมิภาคจังหวัด อำเภอ ตำบล ระยะทาง ขนาด รูปร่าง
แผนที่รัฐกิจทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย ดังนี้
๑) ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างละติจูด ๕ องศา ๓๖ ลิปดาเหนือถึง ๒๐ องศา ๒๗ ลิปดาเหนือ และลองจิจูด ๙๗ องศา ๒๐ ลิปดาตะวันออกถึง ๑๐๕ องศา ๓๗ ลิปดาตะวันออก
ตำแหน่งที่ตั้งดังกล่าว แสดงความสัมพันธ์ให้ทราบว่า
- ประเทศไทยอยู่ในซีกโลกเหนือทั้งหมด
- ประเทศไทยมีตำาแหน่งที่ตั้งเป็นแกนกลางของบรรดาประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน จึงสะดวกในการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ
- ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย สามารถเป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถ้าประเทศไทยใช้ศักยภาพได้เต็มประสิทธิภาพ เช่น เป็นศูนย์กลางการบิน เป็นศูนย์กลางการค้า
๒) รูปร่างของประเทศไทย ประเทศไทยมีรูปร่างยาวมากกว่ากว้าง ดังนี้
- ความยาว เหนือสุดเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถึงใต้สุดเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ยาวประมาณ ๑,๖๔๐ กิโลเมตร
- ความกว้าง ด้านตะวันตก คือ ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถึงด้านตะวันออก สุดเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี กว้างประมาณ ๗๘๐ กิโลเมตร
ผลจากการมีรูปร่างยาวทำาให้เกิดความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ดังนี้
- ประเทศไทยมีเนื้อที่ครอบคลุมละติจูดประมาณ ๑๕ ละติจูด ในซีกโลกเหนือการที่ละติจูดกว้างถึง ๑๕ ละติจูดทำให้แสงอาทิตย์ตั้งฉาก ณ พื้นที่ต่าง ๆ ในเวลาที่แตกต่างกัน การที่แสงอาทิตย์ตั้งฉากในเวลาที่แตกต่างกันทำให้มีฤดูต่างกัน มีผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันตลอดทั้งปี
- รูปร่างที่ยาวของประเทศไทยในส่วนภาคใต้ที่เป็นคาบสมุทรส่งผลให้ประเทศไทยมีโอกาสใช้ทรัพยากรทางทะเล คือ มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย
๓) ขนาดของประเทศไทย ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ ๕๑๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร