การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณาในการแก้ปัญหา
การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (logical reasoning) เป็นการใช้เหตุผลเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น เพื่อตรวจสอบความสมเหตุสมผลหรือความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาต่างๆ
ปัญหาบางปัญหามีวิธีการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นจึงต้องใช้เงื่อนไขหรือใช้เหตุผลเชิงตรรกะมาช่วยในการแก้ปัญหา เช่น การเล่นเกมเขาวงกต เราต้องทำาตามเงื่อนไขของเกม วิธีการเล่น คือ ใช้ดินสอลากเส้นจากต้นทางไปยังปลายทางโดยต้องไม่ยกดินสอออกจากกระดาษ การลากเส้นนั้นจะต้องให้เดินทางไปยังปลายทางได้สั้นที่สุดและไม่ชนกับผนัง
การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ คือ การใช้เหตุผลเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น เพื่อตรวจสอบความสมเหตุสมผลหรือความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาต่างๆ
การใช้เหตุผล (reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน โดยแสดงวิธีการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วย การแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาทำได้โดยการเขียนบอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์ วิธีการแก้ปัญหาของแต่ละคนอาจมีวิธีการเหมือนกันหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละคน แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าการแก้ปัญหามีขั้นตอนที่คล้ายกัน 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. การพิจารณาปัญหา คือ การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด แล้วพิจารณาว่าปัญหามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
2. การวางแผนแก้ปัญหา คือ การกำหนดขั้นตอน วิธีการแก้ปัญหา อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา และระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยการทำงานนี้ อาจต้องทำาซ้ำ ๆ จนแก้ปัญหาได้สำเร็จ
วิธีการแก้ปัญหาควรใช้เหตุผลในการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน โดยจะต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วยการแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาทำาได้โดยการเขียน บอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์ โดยวิธีการของแต่ละคนอาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้
ปัญหาแต่ละปัญหามีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธี การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยให้แก้ปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้เหตุผล เงื่อนไข หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น เพื่อ ตรวจสอบความสมเหตุสมผลหรือความเป็นไปได้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
กิจกรรม


