การหาตัวคูณร่วมน้อย (ครน.)

ตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น. ของตัวเลขเป็นเลขจำนวนเต็มที่น้อยที่สุด ที่ตัวเลขทั้งหมด สามารถหารได้ลงตัว วิธีการหาตัวคูณร่วมน้อยทำได้ 2 วิธี ครอบคลุม (1) การแยกตัวประกอบ และ (2) การตั้งหาร

1. การแยกตัวประกอบ

ถ้ามีตัวเลข 2 จำนวน คือ 6 กับ 8 การหา ค.ร.น. ด้วยการแยกตัวประกอบ ทำได้ ดังนี้

นำตัวเลขที่เหมือนกันออกมา แล้วคูณกับตัวเลขที่เหลือของจำนวนเต็ม ทั้งสองค่า ดังนั้น จะได้ตัวประกอบของ 6 กับ 8 คือ 2 × 3 × 2 × 2 = 24

2. การใช้วิธีการหาร

ถ้ามีตัวเลข 2 จำานวน คือ 12 กับ 36 การหา ค.ร.น. ด้วยวิธีการหารทำาได้ ดังนี้

นำาตัวหารและเศษมาคูณกัน จะได้ 2 × 2 × 3 × 1 × 3 = 36

สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นการหาค่าตัวเลขที่หารจำนวนเต็ม ทั้งสองค่าได้ลงตัวอาจใช้วิธีการวนซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วเพิ่มค่าตัวหารขึ้นจนพบค่าที่ หารแล้วเหลือเศษเป็นศูนย์หรือหารได้ลงตัว โดยเขียนอัลกอริทึมและโปรแกรมได้ดังนี้

การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะต้องใช้หน่วยความจำาในการเก็บข้อมูล ซึ่งการเขียนโปรแกรมประมวลผล ทางคณิตศาสตร์ถ้าต้องการรับข้อมูล เข้าไปประมวลผลข้อมูลที่ป้อนเข้าไป แต่ละค่าจะเก็บไว้ในหน่วยความจำา การแทนตำาแหน่งของหน่วยความจำา แต่ละตำาแหน่งจะใช้ตัวแปรเพื่อให้ สะดวกในการอ้างอิง

คลิกเรื่องต่อไป





Print Friendly, PDF & Email