เหตุการณ์ที่ละเมิดสิทธิเด็กในสังคมไทย

สิทธิเด็ก หมายถึง สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของเด็กที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้ให้ความหมายของคำาว่า เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี

สิทธิเด็กขั้นพื้นฐานมี 4 ประการ ดังนี้

1. สิทธิที่จะมีชีวิต เป็นสิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูทั้งทางร่างกายและจิตใจตลอดจนที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัย
2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง เป็นสิทธิที่จะได้รับการปกป้องให้รอดพ้นจากการถูกทำาร้าย การถูกล่วงละเมิด หรือการถูกทอดทิ้ง
3. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา เป็นสิทธิที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม เป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบต่อตนเอง

ปัจจุบันการละเมิดสิทธิเด็กมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัญหาสังคมต่าง ๆ เช่น การตั้งครรภ์ในวัยเรียน ปัญหาสารเสพติดในชุมชน ครอบครัวแตกแยก ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองและนำไปสู่การละเมิดสิทธิเด็ก

กรณีตัวอย่างที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กรายงานการละเมิดสิทธิเด็ก เช่น

เด็กหญิงหนึ่ง (นามสมมุติ) อายุ 14 ปี เป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่เข้ามาทำงานบ้าน และต้องรอนายจ้างกลับบ้านเวลาประมาณตี 1-2 เป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสื้อผ้ามาซักและรีดให้เสร็จในแต่ละวัน โดยไม่มีวันหยุดพักผ่อน บางครั้งถูกนายจ้างทุบตีจนได้รับบาดเจ็บ

เด็กหญิงสอง (นามสมมุติ) อายุ 12 ปี พ่อกับแม่แยกทางกันเมื่ออายุได้ 9 ขวบ เด็กหญิงสองได้มาอยู่กับพ่อซึ่งมีอาชีพเก็บขยะขาย ต่อมาพ่อเสียชีวิตเด็กหญิงสองจึงมาอยู่ในความดูแลของป้าข้างบ้าน และทำงานร้านขายโจ๊กโดยทำหน้าที่ล้างจานและทำความสะอาดร้าน หลังจากนั้นได้ถูกส่งตัวมาทำางานบ้านกับนายจ้าง ซึ่งอ้างว่าจะรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและส่งให้เรียนหนังสือ แต่ในความเป็นจริงต้องทำงานบ้านและไม่ได้เรียนหนังสือ อีกทั้งยังถูกนายจ้างทำร้ายร่างกายอย่างหนัก ต่อมาเด็กหญิงสองได้หนีออกมาจากบ้านของนายจ้าง และได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิ ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาทางร่างกายและบำาบัดจิตใจเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนได้ เพราะไม่มีเอกสารสำคัญ และไม่เคยได้รับการศึกษาในระบบมาก่อน จึงต้องเข้าเรียนในโรงเรียนนอกระบบขององค์กรพัฒนาเอกชน

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
Print Friendly, PDF & Email