การค้นหาข้อมูลที่สนใจ ป.4

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การค้นหาข้อมูลที่สนใจ แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ เลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยพิจารณาจากประเภทของเว็บไซต์ของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การค้นหาข้อมูลที่สนใจ

  1. นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต โดยตอบคำถาม ดังนี้
    • นักเรียนเคยใช้อินเทอร์เน็ตหาข้อมูลอะไรบ้าง
    • นักเรียนหาจากเว็บไซต์เดียวหรือหลาย ๆ เว็บไซต์
    • เมื่อนักเรียนนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เคยอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลหรือไม่
  2. นักเรียนร่วมกันฟังคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้ว่า

อาจประเมินจากประเภทของเว็บไซต์ หากเป็นของหน่วยงานราชการ สำนักข่าว หรือองค์กรต่าง ๆความน่าเชื่อถืออาจจะมากกว่าเว็บไซต์ที่สร้างโดยบุคคลทั่วไป จึงต้องพิจารณาถึงผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูลด้วยนอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลต่าง ๆ อาจต้องปรับให้ทันสมัย ดังนั้น เราควรพิจารณาถึงวันที่ที่เผยแพร่ ข้อมูลนั้นด้วย

  1. นักเรียนร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
  2. นักเรียนวิเคราะห์ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของข้อมูล จากนั้นเขียนบันทึกเป็นแผนภาพความคิด ดังตัวอย่าง
  1. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • การอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร

สรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูล

การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ควรเลือกจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ จากหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ มากกว่าเว็บไซต์บุคคลทั่วไป และเมื่อต้องการใช้ข้อมูลควรอ้างอิงที่มาหรือแหล่งเก็บข้อมูลนั้นด้วย

Applying and Constructing the Knowledge

  1. นักเรียนฝึกปฏิบัติการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้คำค้นว่า “นครสวรรค์” แล้วหาว่าข้อมูลจากเว็บไซต์ใดมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด พร้อมระบุชื่อเว็บไซต์ว่าเป็นของหน่วยงานใด เมื่อวันที่… เดือน… พ.ศ. อะไร จากนั้นอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
  2. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 2.3 ใครน่าเชื่อถือ โดยนักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดของตนเองแล้วนำข้อมูลในประเด็นที่นักเรียนสนใจมาเรียบเรียงเป็นข้อความประมาณ 10 บรรทัด นำภาพมาติดหรือวาดภาพประกอบ และอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นักเรียนศึกษาและตอบคำถาม เขียนบันทึกลงในชิ้นงานที่ 4 เรื่อง การค้นหาข้อมูลที่สนใจ

สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน

ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ เลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยพิจารณาจากประเภทของเว็บไซต์จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

เทคโนโลยีในการสื่อสารกับผู้ปกครอง: การเชื่อมต่อและสร้างความเข้าใจในยุคดิจิทัล

ทำความรู้จักเทคโนโลยีที่ช่วยในการสื่อสารกับผู้ปกครอง! บทความนี้เสนอแนวทางการใช้แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มการประชุมออนไลน์ และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสร้างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างโรงเรียนและครอบครัวผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ ติดตามความก้าวหน้าของบุตรหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเข้าใจในข้อมูลที่สำคัญของเด็กๆ อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย...

About ครูออฟ 1254 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.