กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด ซึ่งสรุปได้ดังนี้

มาตรา 5 ห้ามเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 6 ห้ามเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วนำไปเผยแพร่ จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

มาตรา 7 ห้ามเข้าไปใช้ข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 8 ห้ามดักรับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์

มาตรา 9 ห้ามทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย ด้วยการทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

มาตรา 10 ห้ามทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานได้

มาตรา 11 ห้ามส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปรบกวนผู้อื่น

มาตรา 12 เมื่อมีการกระทำผิดมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ให้พิจารณาดังนี้

1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าทันทีหรือภายหลัง

2) เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และมีผลให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

มาตรา 13 ห้ามเผยแพร่ชุดคำสั่งที่นำไปใช้กระทำความผิดในมาตรา 5–11

มาตรา 14 ห้ามกระทำผิดตามที่ระบุไว้ดังนี้

1) นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

2) นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ความมั่นคงของประเทศหรือทำให้ผู้อื่นตื่นตระหนก

3) นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย

4)   นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะลามก

5)   เผยแพร่ระบบหรือข้อมูลที่รู้อยู่แล้วว่ามีความผิดในข้อ 1–4

มาตรา 15 ห้ามผู้ให้บริหารสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิดในมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ถ้ากระทำผิดจะต้องรับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดในมาตรา 14

มาตรา 16 ห้ามเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเกิดความเสียหาย

 

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.1 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com