วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ จึงอาจกล่าวได้ว่า วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์เกิดจากการคิดและคำนวณข้อมูลของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนับข้อมูลด้วยนิ้วมือ การใช้ไม้ขีดเพื่อทำสัญลักษณ์ในการนับข้อมูล และการใช้หินมาเรียงแทนจำนวนของข้อมูล ต่อมาได้มีการคิดค้นเครื่องคำนวณทางกลไกแบบกึ่งอัตโนมัติขึ้น โดยเครื่องคำนวณทางกลไกแบบกึ่งอัตโนมัติที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ ลูกคิด (Abacus) แต่เครื่องคำนวณทางกลไกแบบกึ่งอัตโนมัตินี้ไม่สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติจึงมีการพัฒนาเครื่องมือดังกล่าวขึ้นตามลำดับดังนี้

พ.ศ. 2365: Difference Engine โดยชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) แต่พบว่าไม่สมบูรณ์แบบเนื่องจากผลของการคำนวณมีความไม่แน่นอนจึงทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ

พ.ศ. 2366: Analytical Engine โดยชาลส์ แบบเบจ ร่วมมือกับเลดี้ ออกุสต้า เอดา แบรอน (Lady Augusta Ada Byron) เป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณที่มีการใช้หน่วยความจำ โดยมีเลดี้ ออกุสต้า เอดา แบรอนช่วยเขียนซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ด้วยภาษาเอด้า (Ada) จึงมีการยกย่องชาลส์ แบบเบจให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ และกับเลดี้ ออกุสต้า เอดา แบรอนเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

พ.ศ. 2430: Tabulating  Machince โดยเฮอร์แมน ฮอลเลอริธ (Herman Hollerith) เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบัตรเจาะรู ซึ่งสามารถเรียงลำดับบัตรเจาะรูมากกว่า 200 ใบต่อนาที และได้นำ Tabulating  Machince มาใช้ในงานสำรวจสำมะโนประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2480: MARK I โดยโฮเวิร์ด ไอเค็น (Howard H. Aiken) ร่วมมือกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) พัฒนาเครื่องจักรกลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้สำเร็จ จากนั้นจอห์น วี อาทานอซอฟฟ์ (John V. Atanasoff) และผู้ช่วยคือ คลิฟฟอร์ด เบอร์รี (Clifford Berry)ได้สร้างเครื่องคำนวณ ABC (The Atanasoff-Berry-Computer) ซึ่งใช้หลอดสุญญากาศพัฒนาเครื่องคำนวณทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2366: ENIAC (Electronic Numerical Integrator) โดยจอห์น ดับบลิว มอชลี (John W. Mauchly) และเจ เพรสเพอร์ เอ็คเคิร์ต (J. Presper Eckert) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำนวณได้เร็วกว่า MARK I ได้ 1,000 เท่า

พ.ศ. 2494: UNIVAC I (UNIVersal Automatic Computer) โดยจอห์น ดับบลิว มอชลีและเจ เพรสพอร์ เอ็คเคิร์ต มีการนำมาใช้ในภาคธุรกิจและจัดเป็นคอมพิวเตอร์ในยุคแรก

พ.ศ. 2501: IBM-7090 และ IBM-7070  โดยบริษัทไอบีเอ็ม เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง จัดเป็นคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2

พ.ศ. 2507: System360 โดยบริษัทไอบีเอ็ม นำเทคโนโลยีไอซี (IC: Integrated Circuit) มาใช้ในคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดมินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) ซึ่งจัดเป็นคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3

พ.ศ. 2518: Altair8800 โดยบริษัทอินเทล (Intel) นำเทคโนโลยีเอลซีไอ (LSI: Large-Scale Integration) มาใช้ทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ที่มีไมโครโพรเซสเซอร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล จัดเป็นคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 4 ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน

 

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.2 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com