สารเสพติดกับการป้องกัน

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

   สารเสพติด หมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้วทำให้ร่างกายต้องการสารนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดได้ มีผลทำให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตใจผิดปกติ

ประเภทของสารเสพติด

ประเภทของสารเสพติดแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนั้น
1. สิ่งเสพติดตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กัญชา กระท่อม
2. สิ่งเสพติดสังเคราะห์ เกิดจากมนุษย์จัดทำขึ้น เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท

ชนิดของสิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทย

สิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทยแบ่งออกได้ดังนี้
            1. สิ่งเสพติดประเภทฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น ได้แก่

  • 1.1 ฝิ่น เป็นพืชล้มลุก สารเสพติดได้จากยางฝิ่นดับ ซึ่งกรีดจากผล มีลักษณะเหนียว สีน้ำตาลไหม้
  • 1.2 มอร์ฟีน เป็นสารแอลคาลอยด์สกัดจากฝิ่น เป็นผลึกสีขาวนวลมีฤทธิ์รุนแรงกว่าฝิ่น 10 เท่า
  • 1.3 เฮโรอีน เป็นสารที่สังเคราะห์ได้จากมอร์ฟีน มีฤทธิ์รุนแรงกว่ามอร์ฟีน 10 เท่า

           2. สิ่งเสพติดประเภทยานอนหลับและยาระงับประสาท ได้แก่

  • 2.1 เชกโคนาล เป็นแคปซูลสีแดงเรียกว่า “เหล้าแห้ง”
  • 2.2 อโมบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีฟ้าที่เรียกว่า  “นกสีฟ้า”
  • 2.3 เพนโทบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีเหลืองเรียกว่า “เสื้อสีเหลือง”

           3. สิ่งเสพติดประเภทแอฟเฟตามีน เป็นยาประเภทกระตุ้นประสาท มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ยาแก้ง่วง ยาขยัน ยาบ้า ยาบ้าหรือแอมเฟตามีนมีลักษณะเป็นผง มีผลึกสีขาว บรรจุเป็นแคปซูลหรืออัดเม็ด อาจพบปลอมปนในยาคอลเฟนิรามีนพาราเซตามอล

           4. ยาอี ยาเลิฟ และเอกซ์ตาซี (ecstasy) เป็นสารเสพติดที่ระบาดในหมู่วัยรุ่นที่เที่ยวกลางคืน สารทั้ง 3 ชนิด เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี เสพโดยการรับประทาน มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทระยะสั้น ๆ หลังจากนั้นจะหลอนประสาทอย่างรุนแรง ได้ยินและมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดความจริง คุมสติไม่ได้ ถ้าเสพ 2 – 3 ครั้ง สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ติดเชื้อได้ง่าย

โทษของสิ่งเสพติด

โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ดังนี้
1. โทษต่อร่างกาย สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ดวงตาพร่ามัว น้ำหนักลด ร่างกาย ซูบผอม ตาแห้ง เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ เครียด ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
2. โทษต่อผู้ใกล้ชิด ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3. โทษต่อสังคม เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม สูญเสียแรงงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา
4. โทษต่อประเทศไทย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ ทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ

การป้องกันสิ่งเสพติด

วิธีการป้องกันอันตรายจากสารเสพติดมีดังต่อไปนี้
1. การป้องกันตนเอง ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกคบเพื่อนที่ไม่มั่วสุมสิ่งเสพติด ไม่ทดลองหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
2. การป้องกันในครอบครัว ต้องให้ความรักความเข้าใจ และอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษของสิ่งเสพติด
3. การป้องกันในสถานศึกษา ควรให้ความรู้เรื่องสิ่งเสพติดจัดนิทรรศการและการณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด ไปศึกษาดูงาน ณ สถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด
4. การป้องกันในชุมชน ควรจัดสถานที่ออกกำลังกาย และจัดกลุ่มแม่บ้านเพื่อให้ความรู้เรื่องสิ่งเสพติด

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com