ระบบสืบพันธุ์

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

   ก่อนที่ชายและหญิงจะย่างเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ภายใต้ การควบคุมของสมองส่วนหน้า จะหลั่งฮอร์โมน กระตุ้นต่อมเพศในชาย และหญิงให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ต่อมเพศในผู้ชาย คือ อัณฑะ ส่วนต่อมเพศในผู้หญิง คือ รังไข่

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

     ระบบสืบพันธุ์ของเพศชายประกอบด้วย
1. อัณฑะ (testis) ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ ตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมนควบคุมลักษณะเพศชายอยู่ในถุงอัณฑะ
2. หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis) ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ และเป็นที่พักของตัวอสุจิจนกว่าจะแข็งแรง
3. ท่อนำตัวอสุจิ (vas deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ (seminal vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวอสุจิ อาหารประกอบด้วยน้ำตาลฟรุกโตส วิตามินซี โปรตีนบางชนิด สารเมือกและสารอื่น ๆ
5. ต่อมลูกหมาก (prostate gland) ทำหน้าที่สร้างสารเป็นเบสอย่างอ่อน เพื่อลดความเป็นกรดในท่อปัสสาวะ และในระบบสืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนี้ยังช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรง ว่องไว

โดยทั่วไปเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิเมื่ออายุ 12 – 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต การหลั่งน้ำอสุจิออกมาแต่ละครั้งจะมีของเหลวอยู่ประมาณ 3 – 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300 – 500  ล้านตัว น้ำอสุจิจะถูกขับออกทางท่อปัสสาวะ และออกจากร่างกายตรงปลายสุดของอวัยวะเพศชาย ตัวอสุจิเมื่อออกสู่ภายนอกจะมีชีวิตได้เพียง 2 – 3 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในมดลูกของเพศหญิงจะอยู่ได้นานประมาณ  24 – 48 ชั่วโมง

ชายที่มีปริมาณอสุจิน้อยกว่า 30 – 50 ล้านตัวต่อ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 จัดว่าเป็นหมัน

ตัวอสุจิมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง ซึ่งทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได ้ขนาดของตัวอสุจิเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไมเห็น ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู

page16 clip image002
ภาพที่ 21 อวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 50
page16 clip image002 0000
ภาพที่ 22 ส่วนประกอบของตัวอสุจิ
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 50

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

 ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงประกอบด้วย
1. รังไข่ (ovary) ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ เซลล์ไข่ และสร้างฮอร์โมนควบคุมลักษณะเพศหญิง
2. ปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ (oviduct) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่ตัวอสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่
3. มดลูก (uterus) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นในสุดเป็นเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ ซึ่งจะสร้างรกเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนแก๊ส สารอาหาร ของเสียระหว่างแม่กับลูกขณะตั้งครรภ์ ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อที่หนาให้ความแข็งแรง มีความยืดหยุ่นสูง ขยายตัวได้หลายเท่าในระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดจะหดตัวได้เล็กเท่าเดิม ชั้นนอกสุดเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ มดลูกทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนและเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนจนถึงกำหนดคลอด และเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดประจำเดือนถ้าไม่มีการตั้งครรภ์
4. ช่องคลอด เป็นทางเดินให้ตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและปีกมดลูก หรือให้ทารกคลอดออกมา และเป็นช่องที่ประจำเดือนออกสู่ภายนอกร่างกาย

page16 clip image002 0001
page16 clip image002 0002
ภาพที่ 23 อวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 51
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com