การตรวจสอบข่าวปลอม(Fake News)

การตรวจสอบข่าวปลอม(Fake News)
การตรวจสอบข่าวปลอม(Fake News)
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

1. ที่มา / แหล่งอ้างอิง ใครเขียน ใครเผยแพร่ น่าเชื่อถือหรือไม่?

สิ่งที่ที่เราต้องดูเลยก็คือ ข่าวนี้คนเขียนคือใคร เผยแพร่ทางไหน มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือความเกี่ยวข้องในด้านนั้นจริงหรือไม่ หรือเนื้อหาข่าวนั้นอ้างอิงจากเว็บหรือแหล่งที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะมีเว็บไซต์ที่ข้อมูลไม่น่าเชื่อถืออยู่มากมาย โดยเราสามารถดูข่าวจากหลายๆช่องทางประกอบกันได้ หากเป็นเรื่องที่มาจากองค์กรที่ชื่อไม่คุ้นเคย ควรตรวจสอบเพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง

2. หัวข้อข่าว / คำที่ใช้ ใส่อารมณ์เกินจริงเน้น “เรียกร้องความสนใจ”

ข่าวปลอมมักมีการพาดหัวที่สะดุดตา อ่านแล้วให้ความรู้สึกใส่อารมณ์เวอร์เกินจริง เน้นใช้ตัวหนาและเครื่องหมายตกใจ! (อัศเจรีย์) เพื่อเรียกร้องความสนใจ เน้นกระตุ้นให้คนอยากกดเข้าไปดูหรือแชร์ไปด่า หากข้อความพาดหัวมีความหวือหวาจนเกินไป ที่ทำให้เรารู้สึกว่าไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นอาจจะเป็นข่าวปลอม ให้ลองพิจรณาให้ดีว่า ข่าวที่เรากำลังจะแชร์นั้น เราอยากแชร์ไปเพื่ออะไร

3. สังเกตชื่อ Link และ URL จะผิดแปลก จงใจเลียนแบบให้เข้าใจผิด

ลิงก์ของข่าวที่แชร์มาอาจจะมี URL คล้ายกับ URL ของสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ โดยมีเว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากที่เปลี่ยนแปลง URL เพียงเล็กน้อยเพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง ต้องเข้าไปอ่านเนื้อหาและชื่อให้แน่ชัด

4. รูปภาพประกอบไม่ตรงกับเนื้อหาข่าว

เป็นวิธีตรวจสอบที่ง่ายๆ ด้วยสมมติฐานที่ว่า เมื่อเนื้อหาข่าวมันปลอม รูปภาพประกอบข่าวก็ต้องปลอมและไม่ตรงกับเรื่องจริงในข่าวเช่นเดียวกัน เราสามารถตรวจที่มาของ “รูปภาพประกอบ” ได้จาก Google เพียงคลิกขวาที่รูปภาพในข่าว จะมีหัวข้อให้เลือกว่าค้นหารูปภาพจาก Google ซึ่ง Google จะบอกได้หมดว่ารูปภาพนี้เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ และถึงบางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริง แต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว เพื่อความมั่นใจ ลองนำภาพไปตรวจสอบที่มาของภาพดังกล่าวผ่านการค้นหารูปแบบต่างๆ

5. การเขียนและสะกดคำ “ผิด”

ผู้สื่อข่าวที่ดีหรือสำนักข่าวออนไลน์ที่มีตัวตนและมีคุณภาพจะไม่ผิดพลาดเรื่องตัวสะกดของคำหรือประโยคต่างๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะมีการพิสูจย์อักษรก่อนการเผยแพร่ทุกครั้งเพื่อความถูกต้องและความไม่คลาดเคลื่อนของข้อความหรือสาร (Message) ที่จะส่งออกไป

6. ตรวจสอบจากแหล่งข่าวอื่นเปรียบเทียบ

สังเกตหรือตรวจสอบอีกครั้งจากแหล่งอื่นๆ หรือตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าถูกต้อง หากไม่มีหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือของผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีชื่อเสียง อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม

ตรวจสอบข่าวจากรายงานข่าวของที่มาอื่นๆ หากไม่มีแหล่งที่มาอื่นที่รายงานเรื่องราวเดียวกัน อาจระบุได้ว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม หากมีการรายงานข่าวโดยหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือได้ มีแนวโน้มว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง

7. การจัดวางภาพและกราฟิก

สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่น วันที่ลำดับเหตุการณ์ การจัดวางภาพกราฟิก โดยข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งมีการจัดวางกราฟิกหรือเลย์เอาต์ที่ไม่เป็นมืออาชีพ ผิดไปจากเลย์เอาต์ของสำนักข่าวจริง

8. มีโฆษณาสิ่งผิดกฎหมาย บนหน้าเว็บไซต์

สังเกตสิ่งผิดปกติในเนื้อหาข่าวหรือเว็บไซต์ เช่น เมื่อคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์อาจมีโฆษณาของสิ่งผิดกฎหมายปรากฏอยู่เต็มหน้าเว็บ

9. ดูจุดประสงค์ในการเผยแพร่ข่าว

ทำไมเราอยากแชร์? อ่านข่าวนี้แล้วเรารู้สึกอย่างไร ผู้เขียนต้องการอะไร หรือมีเป้าหมายยังไง เช่น ต้องการสร้างความตื่นตระหนก? หรือ ให้ข่าวทำลายชื่อเสียง หรือมีจุดประสงค์อื่นๆ แอบแฝงจากการให้ข่าวนี้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา: เปลี่ยนบทเรียนให้เป็นสนามเด็กเล่น

เกมการศึกษาคืออะไร? เกมการศึกษา หมายถึง เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยผสมผสานเนื้อหาการศึกษาเข้ากับรูปแบบเกมที่สนุกสนาน เกมเหล่านี้อาจเป็นเกมดิจิทัล เกมกระดาน หรือเกมไพ่ ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้: เกมที่สนุกสนานและท้าทาย ช่วยให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลิน และอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม: เกมกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา: เกมหลาย ๆ เกม ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม:...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

About ครูออฟ 1186 Articles
https://www.kruaof.com