บทบาทของครูในฐานะผู้กระตุ้นการเรียนรู้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

บทบาทสําคัญของครูในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ ครูจะต้องแสดงบทบาทต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ขึ้น คือ ครูจะต้องเป็นผู้สังเกต โดยสังเกต การทํางานของนักเรียนและการเล่นของนักเรียน ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ โดยใช้คําถาม ปลายเปิดกระตุ้นการเรียนรู้แทนการบอกกล่าว ครูต้องศึกษาและรู้จักข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อแสดงบทบาทให้เหมาะสมในการทําให้เกิด Active Learning กับนักเรียนเป็นรายคน ซึ่งบทบาทหรือสิ่งเหล่านี้ที่ครูแสดงออก มีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยการสร้าง บรรยากาศในการเรียนรู้ บทบาทของครูจึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง ครูเองจะต้องจัดการเรียนรู้แบบบูรณา การรายวิชา โดยใช้แหล่งเรียนรู้ชุมชนและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวนักเรียนและมีความเป็นปัจจุบัน ณ ขณะนั้น เช่น ข่าว ละครทีวี เรื่องราวในท้องถิ่น เป็นต้น มาเชื่อมโยงกับเนื้อหาบทเรียน นอกจากนั้นแล้ว ครูเองจะต้องคอยให้คําแนะนํา ชี้แนะ ชี้แจงให้รายละเอียดต่างๆ เท่าที่จําเป็น เมื่อนักเรียนเกิดความสงสัย โดยครูจะต้องแสดงบทบาทเป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน (ดุษฎี โยเหลา และคณะ. 2557) ดังนี้

1. ครูใช้คําถามกระตุ้นการเรียนรู้ คําถามที่ใช้ในการกระตุ้นการเรียนรู้นั้น ต้องเป็นคําถามที่มีลักษณะเป็นคําถามปลายเปิด และเพื่อให้นักเรียนได้อธิบาย โดยขึ้นต้นว่า ทําไม หรือลงท้ายว่า อย่างไร อะไรบ้า่ง เพราะอะไร โดยคําถามเหล่านี้อาจเป็นคําถามในใบกิจกรรมหรือครูถามก่อนปฏิบัติ กิจกรรม กําลังลงมือปฏิบัติกิจกรรมและ/หรือหลังปฏิบัติกิจกรรม ทุกคําถามต้องเชื่อมโยงไปยังรายวิชาที่ เรียนเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดด้วย

2. ครูทําหน้าที่เป็นผู้สังเกต ครูจะต้องคอยสังเกตว่า นักเรียนแต่ละคนมีพฤติกรรมอย่างไร ขณะปฏิบัติกิจกรรมโดยการสังเกตต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม คือ เมื่อครูเห็นว่าพฤติกรรมที่นักเรียนกําลังเรียนรู้ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรืออันตรายแก่นักเรียนอื่นรอบตัว แต่ในทางกลับกัน หากพฤติกรรมที่นักเรียนกําลังเรียนรู้ทําให้เกิดความเดือดร้อนหรือเกิดอันตรายต่อตัวนักเรียนเองและนักเรียนคนอื่น ครูจะต้องเข้าไปแทรกแซงและหยุดพฤติกรรมดังกล่าวทันที

3. ครูสอนให้นักเรียน เรียนรู้การตั้งคําถาม เมื่อนักเรียนสามารถตั้งคําถามได้ จะทําให้นักเรียนรู้จักถามเพื่อค้นคว้าข้อมูล รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และร่วมแสดงความคิดเห็นของตนเอง ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เรื่อง การรู้จักถามเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นักเรียนจะได้เรียนรู้และได้มา ซึ่งความรู้ที่นักเรียนสนใจ

4. ครูเป็นผู้คอยให้คําแนะนํา เมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัย ครูจะต้องเป็นผู้คอยแนะนํา ชี้แจง ให้ข้อมูลต่างๆ หรือยกตัวอย่างเหตุการณ์ใกล้ตัวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของนักเรียน เชื่อมโยงไปสู่ความรู้ด้านอื่นๆในขณะทํากิจกรรมเมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัย หรือคําถาม โดยไม่บอกคําตอบแก่นักเรียน

5. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนคิดหาคําตอบด้วยตนเอง ซึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครั้งหนึ่งๆ ครูจะเป็นผู้สังเกตและคอยกระตุ้นด้วยคําถามให้นักเรียนได้คิดกิจกรรมที่อยากเรียนรู้และหาคําตอบในสิ่งที่สงสัยด้วยตนเอง

6. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานอย่างอิสระ ตามความคิดและความสามารถของนักเรียนเอง เพื่อให้นักเรียนได้ใช้จินตนาการและความสามารถของตนเองในการคิด สร้างสรรค์อย่างเต็มที่

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com