แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

Active Learning เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่มาจากฐานคิดมาจากปรัชญาพิพัฒนาการ นิยม (Progressivism) และทฤษฎีสร้างสรรค์องค์ความรู์ (Constructivist) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อว่า ความรู้เกิดจากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม การได้รับประสบการณ์ตรง หรือการฝึกปฏิบัติ เป็นการจัด การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (Student – centered) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนการลงมือ ปฏิบัติกิจกรรมฝึกทักษะที่สําคัญ อาทิ การแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินและลงข้อสรุป การสื่อสาร ครูมีบทบาทในฐานะเป็นผู้อํานวยความสะดวก (Facilitators) ในการเรียนรู้ และ เป็นผู้ชี้แนะ (Coach) ให้กับผู้เรียน ทั้งนี้ การเรียนรู้ด้วย Active Learning ตั้งอยู่บนสมมุติฐาน 2 ประการ คือ

1) การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2) บุคคลแต่ละบุคคลมี แนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

Active Learning สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (Mayers and Jones. 1993) ครอบคลุม (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และ (2) เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีลําดับ ขั้นตอนและมีแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมไว้อย่างเป็นระบบชัดเจน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ส่วน ใหญ่จะต้องมีหลักการของรูปแบบที่สังเคราะห์ มาจากแนวคิดทฤษฎีต่างๆ อย่างชัดเจน ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning นั้น ผู้เรียนได้ปฏิบัติการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ (Collaborative Learning) การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-based Learning : RBL) การเรียนรู้แบบสืบค้นความรู้ (Inquirybased Learning : IBL) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning : ABL) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (Stem Education) เป็นต้น รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้น Active Learning เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามองค์ประกอบหรือลักษณะสําคัญของ Active Learning อธิบายวิธีการไว้อย่างครอบคลุมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ตั้งแต่การนําเข้าสู่บทเรียน การเรียนรู้ การสรุป การกําหนดบรรยากาศในการเรียน หรืออาจรวมไปถึงวิธีการกําหนดแหล่งเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์การเรียน และวิธีการวัดผลประเมินผลด้วย

2. เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นเทคนิคที่สามารถนําไปผสมผสานไว้ในกิจกรรมการเรียนรู้ปกติ ใช้ได้ทั้งในขั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นสรุป ผู้สอนสามารถเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมไปใช้เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติ และเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับนักเรียน นักศึกษาทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่ (มนตรี ศิริจันทร์ชื่น. 2554 : 27-28 ; อ้างอิงมาจาก McKinney. 2008) ดังตัวอย่างเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ได้ดี ดังนี้

2.1 การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กําหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนําเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

2.2 การเรียนรู้แบบทบทวนโดยผู้เรียน (Student-led Review Sessions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้และพิจารณาข้อสงสัยต่างๆ ในการปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนรู้โดยครูจะคอยช่วยเหลือกรณีที่มีปัญหา

2.3 การเรียนรู้โดยวิเคราะห์และโต้ตอบผ่านวีดีโอ (Analysis or Reactions to Videos) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

2.4 การเรียนรู้แบบโต้วาที (Student Debates) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัด ให้ผู้เรียนได้นําเสนอข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์และการเรียนรู้เพื่อยืนยันแนวคิดของตนเองหรือกลุ่ม

2.5 การเรียนรู้โดยผู้เรียนสร้างข้อสอบ (Student Generated Exam Questions) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

2.6 การเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยหรือโครงงาน (Mini-research Proposals or Project) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่อิงกระบวนการวิจัย โดยให้ผู้เรียนกําหนดหัวข้อที่ต้องการเรียนรู้วางแผนการเรียน เรียนรู้ตามแผน สรุปความรู้หรือสร้างผลงาน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้เรียนรู้

2.7 การเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze Case Studies) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้อ่านกรณีตัวอย่างที่ต้องการศึกษา จากนั้นให้ผู้เรียนวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแนวทางแก้ปัญหาภายในกลุ่ม แล้วนําเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด

2.8 การเรียนรู้แบบการเขียนบันทึก (Keeping Journals or Logs) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน รวมทั้งเสนอความคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบันทึกที่เขียน

2.9 การเรียนรู้แบบการเขียนจดหมายข่าว (Write and Produce a Newsletter) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนร่วมกันผลิตจดหมายข่าว อันประกอบด้วย บทความ ข้อมูล สารสนเทศข่าวสารและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแจกจ่ายไปยังบุคคลอื่นๆ

2.10 การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept Mapping) คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนําเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของ กรอบความคิดโดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทําเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนําเสนอผลงาน ต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายและประเภทของเงิน

ความหมายของเงิน: เงินเป็นสิ่งที่มีค่าใช้และมีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มันเป็นสัญลักษณ์ของมูลค่าที่ใช้ในการซื้อขายหรือการแลกเปลี่ยนในชุมชนหรือระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้เงินยังมีคุณสมบัติเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรหรือการลงทุน มันสามารถเป็นอาหารสำหรับการค้าหรือก็เป็นหนี้ที่จะชำระในอนาคต ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ: เป็นเงินที่มีรูปร่างและมีค่าตามตัว เหรียญสามารถใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น เหรียญเงินทอง และเหรียญเงินแสน เงินแบงก์โนตัส: เป็นเงินที่ถูกเก็บรักษาโดยธนาคารหรือองค์กรการเงิน มีรูปแบบเป็นเช็ค บัตรเครดิต และเงินฝากในบัญชีธนาคาร เงินแบงก์โนตัสมักถูกใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน การชำระเงิน และการออมเงิน ทั้งเงินเหรียญและเงินแบงก์โนตัสมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนในโลกปัจจุบัน การเข้าใจและการจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารจัดการการเงินของบุคคลและองค์กรทางธุรกิจในทุกๆ ระดับ...

การใช้เทคโนโลยีในการประเมินผลการเรียนรู้

บทนำ การประเมินผลการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการวัดผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้กระบวนการนี้สามารถพัฒนาและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ไม่เพียงช่วยเพิ่มความแม่นยำ แต่ยังสามารถลดเวลาและความซับซ้อนในกระบวนการประเมินอีกด้วย ความสำคัญของการประเมินผลการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ช่วยให้ครูและนักเรียนทราบถึงความสามารถในการเรียนรู้และความก้าวหน้าในการศึกษา การประเมินที่มีประสิทธิภาพยังสามารถชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียน ทำให้ครูสามารถปรับปรุงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคนได้ เทคโนโลยีที่ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ ระบบการจัดการการเรียนรู้ (LMS) ระบบการจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) เช่น Moodle, Canvas, Blackboard เป็นต้น เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการการเรียนการสอนและการประเมินผล นักเรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรียนและทำการทดสอบออนไลน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว...

เทคโนโลยีช่วยยกระดับการเรียนรู้: วิธีการสอนที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีช่วยยกระดับการเรียนรู้: วิธีการสอนที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแง่มุมของชีวิต การศึกษา ก็เช่นกัน เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนาน ยืดหยุ่น และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น บทความนี้จะนำเสนอวิธีการสอนที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ดังนี้ 1. การใช้สื่อมัลติมีเดีย: วิดีโอ: การใช้สื่อวิดีโอช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิดีโอสามารถนำเสนอเนื้อหาที่ซับซ้อนให้น่าสนใจ เข้าใจง่าย กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม และช่วยให้นักเรียนจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น อินโฟกราฟิก: อินโฟกราฟิกเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้น่าสนใจและเข้าใจง่าย ช่วยให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล...

การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ: ปัจจัยและวิธีการประยุกต์ใช้

การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเป็นกระบวนการที่ต้องพิจารณาปัจจัยหลากหลาย ทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จิตวิทยาและสังคม และการใช้เทคโนโลยี การให้ความสำคัญและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการและบริบทของผู้เรียนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสำเร็จในการเรียนรู้...

แนะนำเครื่องมือและแอปพลิเคชันที่มีประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนการสอน

**Meta Description:** ค้นพบแอปพลิเคชันและเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้นสำหรับครูและนักเรียน....

About ครูออฟ 1251 Articles
https://www.kruaof.com