KidBright บอร์ดสมองกลฝังตัวสัญชาติไทย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

จากนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืนนั้น การที่จะให้นักเรียนได้ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบูรณาการกับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่นำไปสู่ การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ หรือสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีและการสื่อสารในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งใช้ความรู้ ความสามารถ ทักษะ กระบวนการ และเครื่องมือทางงานช่างต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเข้าใจสภาพที่เป็นอยู่และการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การจัดการและปรับใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างลงตัว ทำให้ทาง ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมมือกับ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดตัว โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน (Coding at School Project) โดยพัฒนานวัตกรรมไมโครคอนโทรลเลอร์ บอร์ดที่เป็น Arduino Platform เพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ในเด็กวัยเรียนผ่านการเรียนรู้แบบ Learn and Play โดยบอร์ดนั้นถูกออกแบบให้มีการแสดงผลและเซนเซอร์แบบง่ายต่อวัยของเด็กถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

8655 1


ภาพที่ 1  โครงการ KidBright
ที่มา http://www.most.go.th/main/th/knowledge/modern-science/150-open-innovation/7039-kidbright

KidBright คืออะไร

          KidBright เป็นผลงานวิจัยของ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ที่เป็น Arduino Platform ที่ใช้ชิพชั้นนำของตลาดในขณะนี้ ESP-32 เป็นรุ่นใหม่กว่า ESP8266 โดยมี KidBright IDE ที่ใช้งานง่าย ใช้การสร้างชุดคำสั่งแบบ Block Based Programing หรือ Blocky เพียงใช้การลากบล็อกคำสั่งมาวาง (drag and drop) มีการนำ Blockly มาผสมผสานเป็นบล็อกคำสั่งอย่างง่าย มีให้เลือกภาษาได้ทั้ง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ

         ซอฟต์แวร์สำหรับ KidBright มีอยู่ 2 แบบ คือ KidBright IDE กับ แบบ KidBright IDE ใช้งานผ่าน Web Browser ส่วนการใช้งาน Internet of things (loT) ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนนั้น มีการเชื่อมโยงกับ ระบบ Netpie ซึ่งเป็น loT Platform ที่ไม่ต้องพึ่งพาจากต่างประเทศในด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เช่นกัน

          ถ้ามองในส่วน BBC สนับสนุนงบประมาณในการผลิต micro bit จำนวน 1 ล้านบอร์ด แจกให้กับเด็กนักเรียนอายุประมาณ 11-12 ปี ทั่วประเทศอังกฤษ และประเทศสิงคโปร์ได้นำ micro bit มาใช้ในการจัดการรู้กับนักเรียนระดับชั้นประถม ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

8655 2


ภาพที่ 2 บอร์ด KidBright V1.3
ที่มา มาโนชญ์  แสงศิริ

ทำไมต้องรู้จัก KidBright
          บอร์ด KidBright สนับสนุนในการจัดการเรียนรู้ในเรื่อง วิทยาการคำนวณ, การออกแบบและเทคโนโลยีและสะเต็มศึกษา (STEM)
          แจกฟรีสำหรับโรงเรียนมัธยมนำร่อง จำนวน 1,000 โรงเรียนทั่วประเทศ พร้อมการอบรมการสอนเขียนโปรแกรมให้กับบุคลากรผู้ฝึกสอน (Trainer) แต่จะต้องมีการส่งโครงงานที่ใช้ บอร์ด KidBright จำนวน 3 โครงงานต่อ 1 โรงเรียน
          โรงเรียนมีสิทธิเข้าร่วมการแข่งขันในการประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์ด้วยบอร์ด KIDBRIGHT : Youth’s Coding Competition by KidBright (YCCK) ในหัวข้อการประกวด คือ 1. เกษตร 2. บ้าน/โรงเรียน 3. สิ่งแวดล้อม 4. โรงเรียน ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้ที่ https://www.kid-bright.org และ http://fic.nectec.or.th/ycck1

นำ KidBright ไปใช้ในด้านใดบ้าง
          บอร์ด KidBright เป็น Arduino Platform ดังนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในรูปแบบของโครงงานต่าง ๆ ได้เหมือน บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ ที่เป็น Arduino ทั่วไป โดยนักเรียนสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ ให้ระบบงานเดิมมีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ระบบเปิด/ปิดไฟอัตโนมัติ เครื่องให้อาหารสัตว์อัตโนมัติ ระบบตรวจสอบอุณหภูมิห้องแบบเรียลไทม์ รถยนต์บังคับสำหรับงานด้านต่าง ๆ หุ่นยนต์สองล้อ (Balancing Robot)
          เมื่อเริ่มขึ้นแล้วต้องพัฒนาต่อยอดและแก้ไขปรับปรุงกันโครงการนี้ต่อไป เพื่อเส้นทางเข้าสู่ ไทยแลนด์ 4.0 เป็นรูปเป็นร่างมาจากพื้นฐานของเยาวชนไทย
แหล่งที่มา
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2561,25 มิถุนายน). Coding at School powered by KidBright กับการก้าวไปสู่ Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561, จาก https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/kidbright-coding.html
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2559,1 ธันวาคม). KidBright จากจินตนาการสู่ความเป็นจริง. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2561, จาก https://www.nectec.or.th/innovation/innovation-hardware-electronics/kid-bright.html
Tham, Irene. (2017, 13 April). Singapore to use micro:bit to teach coding, nurture its own Steve Jobs. Retrieved August 21, 2018 from https://www.straitstimes.com/singapore/singapore-to-use-microbit-to-teach-coding-nurture-its-own-steve-jobs

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา: วิธีคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา บทนำ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่ช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันหรือในที่ทำงาน การมีเหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาในมุมที่ชัดเจน และสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด ความหมายและพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะ ความหมายของเหตุผลเชิงตรรกะ เหตุผลเชิงตรรกะหมายถึงการใช้ความคิดอย่างมีระบบระเบียบเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และปรัชญา ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ และสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง หลักการพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะ หลักการพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะประกอบด้วย: ความชัดเจน (Clarity) ความถูกต้อง (Accuracy) ความสม่ำเสมอ (Consistency) การเป็นเหตุเป็นผล (Relevance) ความแตกต่างระหว่างเหตุผลเชิงตรรกะกับเหตุผลเชิงอารมณ์ เหตุผลเชิงตรรกะเน้นที่การใช้ความคิดและการวิเคราะห์อย่างมีระบบ ขณะที่เหตุผลเชิงอารมณ์เน้นที่ความรู้สึกและการตอบสนองทางอารมณ์ ประโยชน์ของการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา การปรับปรุงการตัดสินใจ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลและมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งลดความเสี่ยงในการตัดสินใจผิดพลาด การลดความขัดแย้ง การมีเหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เรามีความสามารถในการเจรจาและแก้ไขความขัดแย้งอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทำให้สามารถหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การเพิ่มประสิทธิภาพในที่ทำงาน ในที่ทำงาน การใช้เหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ขั้นตอนในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ การระบุปัญหา ขั้นตอนแรกคือการระบุปัญหาอย่างชัดเจน โดยการตั้งคำถามเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา การรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมา เพื่อหาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่างๆ การประเมินทางเลือก ประเมินทางเลือกที่มีอยู่ โดยพิจารณาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก การตัดสินใจและการดำเนินการ ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดและดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ตัวอย่างการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในชีวิตประจำวัน การจัดการเวลา การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการจัดการเวลา...

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษา

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษาเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง นี่คือการนำเสนอวิธีการและประโยชน์ของการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสื่อสารกับผู้ปกครอง: 1. แพลตฟอร์มการสื่อสารเฉพาะด้านการศึกษา เครื่องมืออย่าง ClassDojo, Seesaw, และ Edmodo เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการสื่อสารระหว่างครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโดยเฉพาะ ผู้ปกครองสามารถติดตามความก้าวหน้าของบุตรหลาน และรับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็วและสะดวก 2. อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัล การใช้อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้ปกครอง ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด นอกจากนี้ยังสามารถแนบไฟล์หรือเอกสารสำคัญเพิ่มเติมได้ 3. แอปพลิเคชันสำหรับการส่งข้อความ แอปพลิเคชันเช่น LINE, WhatsApp, และ...

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

About ครูออฟ 1257 Articles
https://www.kruaof.com