ส่วนประกอบของโปรแกรม Photoshop CS6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

จุดประสงค์การเรียนรู้

  • เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจส่วนประกอบของโปรแกรมและสามารถบอกขั้นตอนการใช้เครื่องมือต่างๆในโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ได้ เช่น กำหนดพื้นที่เพื่อแก้ไขภาพ, สร้างข้อความและเปลี่ยนรูปร่างของรูปภาพได้ (K)
  • เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้แถบเมนูและแถบเครื่องมือของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6 ในการฝึกทักษะการตกแต่ง แก้ไข และเปลี่ยนแปลงรูปภาพ เช่น การทำให้ภาพสว่างขึ้น การลบพื้นหลังหรือส่วนที่ไม่ต้องการออก และสามารถใส่ข้อความตัวอักษรได้ (P)
  • เพื่อให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง มีความสุข สนุก และมีความสนใจในการใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 เพื่อตกแต่งภาพและนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง (A)

เมนูบาร์ (Menu Bar) : ประกอบด้วยกลุ่มคำสั่งต่างๆ ที่ใช้จัดการกับไฟล์, ทำงานกับรูปภาพ และ

1 5

ใช้การปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม โดยแบ่งเมนูตามลักษณะงาน นอกจากนี้บางเมนูหลัก จะมีเมนูย่อยซ้อนอยู่ โดยสังเกตจากเครื่องหมายลูกศรสีดำ แถบเมนูคำสั่งประกอบไปด้วยทั้งหมด 10 เมนูคำสั่ง โดยแสดงชื่อเมนูคำสั่งและรูปแบบการทำงาน ส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม Adobe Photoshop CS6

  1. File หมายถึง รวมคาสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์รูปภาพ เช่น สร้างไฟล์ใหม่, เปิด, ปิด, บันทึกไฟล์, นำเข้าไฟล์, ส่งออกไฟล์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับไฟล์
  2. Edit หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้สำหรับแก้ไขภาพ และปรับแต่งการทางานของโปรแกรม
    เบื้องต้น เช่น ก็อปปี้ ,วาง, ยกเลิกคาสั่ง, แก้ไขเครื่องมือ และอื่น ๆ
  3. Image หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งภาพ เช่น สี, แสง, ขนาดของภาพ (image size), ขนาดของ เอกสาร (canvas), โหมดสีของภาพ, หมุนภาพ และอื่น ๆ
  4. Layer หมายถึง รวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับเลเยอร์ ทั้งการสร้างเลเยอร์, แปลงเลเยอร์ และการจัดการ กับเลเยอร์ในด้านต่าง ๆ
  5. Type รวมคำสั่งที่ใช้ปรับแต่งข้อความ แปลงข้อความ
  6. Select รวม คำสั่งเกี่ยวกับการเลือกวัตถุหรือพื้นที่บนรูปภาพ (Selection) เพื่อนำไปใช้งานร่วมกับ คำสั่งอื่น ๆ เช่น เลือกเพื่อเปลี่ยนสี, ลบ หรือใช้เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ กับรูปภาพ
  7. Filter เป็นคำสั่งการเล่น Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ
  8. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก
  9. Window เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆที่จาเป็นในการใช้สร้าง Effects ต่างๆ
  10. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯ และจะมีลายละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น

ไตเติ้ลบาร์ (Title Bar)

ถบชื่อเรื่อง (Title Bar) เป็นส่วนที่แสดงชื่อไฟล์ภาพที่เปิดใช้งานอยู่ สำหรับโปรแกรม

Adobe Photoshop CS6 แถบชื่อเรื่องจะเรียงกันเป็น แท็บ (Tab) ดังแสดงในภาพ ดังต่อไปนี้

3 4

ออปชั่นบาร์ (Option Bar) : เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งค่าการทำงานของเครื่องมือต่างๆ โดย

รายละเอียดในออปชั่นบาร์จะเปลี่ยนไปตามเครื่องมือที่เราเลือกจากทูลบ็อกซ์ในขณะนั้น เช่น เมื่อเราเลือกเครื่องมือ Brush (พู่กัน) บนออปชั่นบาร์จะปรากฏ ออปชั่นที่ใช้ในการกำหนดขนาด และลักษณะหัวแปรง, โหมดในการระบายความโปร่งใสของสี และอัตราการไหลของสี เป็นต้น

1 6

กล่องเครื่องมือ (Toolbox) เป็นส่วนที่ใช้เก็บเครื่องมือพื้นฐานในการทางาน ในโปรแกรม สามารถเรียกใช้ชุดเครื่องมือย่อยโดยการ คลิกรูปสามเหลี่ยมที่มุมด้านล่าง ดังแสดงในภาพ ดังต่อไปนี้

3 5
  1. พาเนล (Panel) ใช้สำหรับจัดการกับภาพ โดยแยกออกเป็นหมวดหมู่ เช่น พาเนลสำหรับเลือก สี

พาเนล สำหรับปรับแต่งความสว่าง เป็นต้น พาเนลแต่ละแบบมีหน้าที่และการใช้งานแตกต่างกันออกไป โดย สามารถเลือกเปิดหรือปิดพาเนลได้จากเมนูคาสั่ง Window

1 7

– Navigator ใช้ปรับมุมมองของภาพ โดยคลิกเลือกบริเวณ Zoom Slider เพื่อย่อขยายมุมมองภาพ   

3 6

– Color ใช้กำหนดสีพื้นหน้า (Foreground) และสีพื้นหลัง (Background) โดยการเลื่อนแถบสีเพื่อปรับแต่งตามต้องการ 

3 7

– Swatches ใช้กำหนดสีแบบสำเร็จรูปที่โปรแกรมกำหนดไว้ หรือสร้างสีขึ้นมาใหม่เองได้ โดยการ คลิกเลือกสีที่ต้องการเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

3 8

– Styles ใช้สำหรับกำหนดการตกแต่งรูปแบบต่าง ๆ ที่โปรแกรมกำหนดขึ้นมา เช่น การตกแต่งสีให้กับรูปแบบข้อความ

untitled

– Adjustments ใช้ปรับแต่งสีให้กับภาพ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องหรือสีที่ผิดเพี้ยน

untitled 1

– Layers ใช้ควบคุมการใช้งานเลเยอร์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการสร้างชิ้นงาน

untitled 2

– History ทำหน้าที่ในการเก็บรายละเอียดขั้นตอนการทำงานทั้งหมดที่ผ่านมา เพื่ออำนวย ความสะดวกเมื่อต้องการย้อนกลับไปใช้คำสั่งเก่าหรือย้อนดูการทำงานที่ผ่านมา

untitled 3
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com