หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วนักเรียนสามารถบอกได้ว่า

    1. คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ตามโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้น และคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถูกต้อง ตามโปรแกรมที่เขียน รวมถึงการทำงานได้เร็วกว่ามนุษย์และสามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้เป็นอย่างดี

    2.  ปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับเรียนรู้การเขียนโปรแกรมมากมาย ทำให้ผู้เริ่มต้นสามารถฝึกเขียนโปรแกรม ได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเครื่องมือในการเขียนโปรแกรม เช่น เว็บไซต์ https://code.org    เว็บไซต์ https://scratch.mit.edu และเว็บไซต์ https://makecode.microbit.org

    3.  การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเข้าข้อมูลเพื่อให้โปรแกรมทำงานตามคำสั่ง โดยการทำงานของโปรแกรมจะเคลื่อนที่ตามข้อมูลที่นำเข้า

    4.  การเขียนโปรแกรมบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งแล้วเราสะกดผิด หรือเขียนคำสั่งที่โปรแกรมไม่เข้าใจ หากตรวจสอบทีละคำสั่งแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง โปรแกรมก็จะสามารถทำงานต่อไปได้

    5.  โปรแกรม Scratch เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เรียนรู้การเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดีมีลักษณะเป็นบล็อกโปรแกรม (Block) โดยการเขียนโปรแกรมจะนำบล็อกคำสั่งมาต่อกัน สามารถเข้าใช้งานโปรแกรมได้ทั้งแบบออนไลน์ (Online) และออฟไลน์ (Offline)

    6.  การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ให้ตัวละครเคลื่อนที่ สามารถใช้คำสั่งเคลื่อนที่และกำหนดระยะทางที่ต้องการให้เคลื่อนที่ได้โดยตรง แต่ถ้าต้องการให้ตัวละครเคลื่อนที่แบบขยับเท้าได้  เราอาจให้เคลื่อนที่ทีละน้อยแล้วเปลี่ยนภาพ  จากนั้นใช้วิธีการทำซ้ำ ซึ่งจะทำให้มองเห็นตัวละครเคลื่อนที่ได้อย่างสวยงาม 

   7.  การเขียนโปรแกรม ผู้เขียนจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์หรือปัญหาของการเขียนขึ้นมาก่อน  จากนั้นวางแผนการแก้ปัญหาหรือเขียนอัลกอริทึม ในการเขียนโปรแกรมอาจใช้วิธีการทำซ้ำ เพื่อทำให้มองเห็นตัวละครเคลื่อนที่ได้

จุดประสงค์/ตัวชี้วัด เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ว 4.2 ป.3/2               เขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือสื่อ และตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม

สาระการเรียนรู้เรื่อง  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  1. การทำงานของคอมพิวเตอร์
  2. รู้จักการเขียนโปรแกรม
  3. สนุกกับการเขียนโปรแกรม
  4. การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  5. การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ให้ตัวละครเคลื่อนไหว
  6. การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ให้ตัวละครเคลื่อนที่
  7. การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch ให้ตัวละครทำงานซ้ำไม่สิ้นสุด

แบบทดสอบ เรื่อง  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.