8.1.4 เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบต. อบจ.

กฎหมายท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมี 4 ประเภท ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย มีอำนาจออกกฎหมายเพื่อนำมาใช้ในการบริหารท้องถิ่นของตนเองได้

กฎหมายที่เทศบาลเป็นผู้ออก เรียกว่า เทศบัญญัติ

กฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยาเป็นผู้ออก เรียกว่า ข้อบัญญัติ

เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งต้องจัดทำ คือ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดทำงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยทั่วไปเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติจะออกตามหน้าที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งต้องกระทำ

เทศบัญญัติ

เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่คณะผู้บริหารและสภาเทศบาลเป็นผู้ออกกฎหมายเพื่อบริหาร และพัฒนาท้องถิ่นของตนเองตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด เทศบัญญัติที่เทศบาลได้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ในท้องถิ่นของตนเอง เช่น
1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีของเทศบาล
2. การจัดเก็บภาษีในท้องถิ่นที่เทศบาลรับผิดชอบ
3. การควบคุมโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง
4. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ และปล่อยสัตว์เลี้ยง
5. การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
6. การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย
7. การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำาบล (อบต.)

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นกฎหมายที่คณะผู้บริหารหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้ออกกฎหมายเพื่อบริหารและพัฒนาท้องถิ่นที่ตนเองรับผิดชอบข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ในท้องถิ่นของตนเอง เช่น
1. งบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์การบริหารส่วนตำาบล
2. การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย
3. การจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ
4. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

องค์การบริหารส่วนตำบลบึงปลาทู

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นกฎหมายที่คณะผู้บริหารหรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ออกกฎหมายเพื่อบริหารและพัฒนาท้องถิ่นที่ตนเองรับผิดชอบ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์

ข้อบัญญัติที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ในท้องถิ่นของตนเอง เช่น
1. งบประมาณรายจ่ายประจำาปีขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
2. การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากสถานค้าปลีกในเขตจังหวัด
3. การเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการบริการสาธารณะที่จัดให้มีขึ้นในจังหวัดนั้น ๆ

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
Print Friendly, PDF & Email