มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สาระ : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน ส 1.1 รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนา ที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ตัวชี้วัด

  1. วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ เป็นศาสนาประจำชาติหรือความสำคัญของศาสนา
    ที่ตนนับถือ
  2. สรุปพุทธประวัติตั้งแต่ปลงอายุสังขารจนถึงสังเวชนี- ยสถาน หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
  3. เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดกเรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด
  4. วิเคราะห์ความสำคัญและเคารพพระรัตนตรัยปฏิบัติตามไตรสิกขาและหลักธรรมโอวาท 3 ในพระพุทธศาสนา หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
  5. ชื่นชมการทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนา พร้อมทั้งบอกแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
  6. เห็นคุณค่าและสวดมนต์ แผ่เมตตา และบริหารจิต เจริญปัญญา มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพระพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวทาง ของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
  7. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อแก้ปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด
  8. อธิบายหลักธรรมสำคัญของศาสนาอื่น ๆ โดยสังเขป
  9. อธิบายลักษณะสำคัญของศาสนพิธี พิธีกรรมของ ศาสนาอื่น ๆ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเข้าร่วมพิธี

มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนัก และปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือ ศาสนาที่ตนนับถือ

ตัวชี้วัด

1.  อธิบายความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ในศาสนสถาน และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม

2.  มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด

3.  อธิบายประโยชน์ของการเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรม และกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาตามที่  กำหนดและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

4.  แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือแสดงตนเป็น ศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ

สาระ : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

มาตรฐาน ส 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

ตัวชี้วัด

1. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน

2.  วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลา และธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม

3.  แสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมถูกกาลเทศะ

4.  อธิบายคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่าง กลุ่มคนในสังคมไทย

5.  ติดตามข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ได้เหมาะสม

มาตรฐาน ส 2.2 เข้าใจระบบการเมือง การปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.  เปรียบเทียบบทบาท หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล

2.  มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ

3.    อภิปรายบทบาท ความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียง เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

สาระ : เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ารวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

ตัวชี้วัด

1.  อธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ

2.  อธิบายบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน

3.  บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจ ต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

ตัวชี้วัด

1.  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคารและรัฐบาล

2.  ยกตัวอย่างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น

สาระ : ภูมิศาสตร์

มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลกและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์และสรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด

1.  สืบค้นและอธิบายข้อมูลลักษณะทางกายภาพ  ของประเทศไทย ด้วยแผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม

2.  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับภัยพิบัติในประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อม รับมือภัยพิบัติ

มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

1.  วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศไทย

2.  วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของ ประเทศไทยในอดีตกับปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

3.  นำเสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นผลจากการรักษา และทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเสนอ     แนวทางในการจัดการที่ยั่งยืนในประเทศไทย

Print Friendly, PDF & Email