8.1.3 กฎหมายยาเสพติดให้โทษ

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ

ยาเสพติดให้โทษ หมายถึง สารใด ๆ ที่บุคคลนำาเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลายต่อร่างกายและจิตใจ เช่น มีความต้องการที่จะเสพตลอดเวลา ต้องเพิ่มขนาดการเสพสุขภาพโดยทั่วไปทรุดโทรมลง และตกอยู่ในสภาพที่จำเป็นต้องพึ่งยาเสพติดให้โทษนั้นตลอดไป

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 (ฉบับปลดล็อกกัญชา)

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522และที่แก้ไขเพิ่มเติม แบ่งยาเสพติดให้โทษเป็น 5 ประเภท ดังนี้

  1. ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สำคัญ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน
  2. ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 เป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไปที่สำคัญ เช่น โคเดอีน โคคาอีน มอร์ฟีน ฝิ่น
  3. ยาเสพติดให้โทษประเภท 3 เป็นยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาน้ำแก้ไอ ผสมโคเดอีน
  4. ยาเสพติดให้โทษประเภท 4 เป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2
  5. ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เป็นยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 เช่น กัญชา พืชกระท่อม

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้ที่มีไว้ครอบครอง หรือผู้เสพที่กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. ผู้ที่ครอบครองยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ที่เป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 3 กรัม มีโทษจำคุก 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
  2. ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 มีโทษจำาคุก 6 เดือน ถึง 3 ปีหรือปรับตั้งแต่ 10,000-60,000 บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ
  3. ผู้ที่ครอบครอง (10 กิโลกรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย) ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ยกเว้นพืชกระท่อม มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากครอบครองพืชกระท่อม มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำาทั้งปรับ
  4. ผู้เสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (ยกเว้นพืชกระท่อม) มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากเสพพืชกระท่อม มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
Print Friendly, PDF & Email