การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในจังหวัดและผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

1. สิ่งแวดล้อมในจังหวัด

ในแต่ละจังหวัดมีสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในทุกพื้นที่ ต่อมาเมื่อมีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่เกิดการสร้างสรรค์ชุมชน สังคมขึ้นมา จึงเกิดเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ส่วนมนุษย์เป็นทรัพยากรบุคคลในพื้นที่ที่ได้สร้างกฎ ระเบียบ ประเพณีต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งเป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรม

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ มีอยู่ทั้งบนพื้นดิน ท้องฟ้า และผืนนํ้าบนพื้นดิน เช่น แร่ ลักษณะภูมิประเทศแบบต่าง ๆ พืชพรรณธรรมชาติสัตว์ป่า ท้องฟ้า มีนํ้าค้าง เมฆ หมอก ลม ความร้อน ความเย็น พลังงานแสงอาทิตย์ ผืนนํ้า มีสัตว์นํ้า พืชนํ้าทุกประเภท

สิ่งแวดล้อมทางสังคม เช่น พืชไร่ ท้องนา บ่อปลา ฝูงสัตว์ ท่าเรือบ้านเรือน ชุมชนเมือง ชุมชนชนบท ถนน สะพาน ชุมชนชาวเขา ชุมชนชาวนา

สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม เช่น ระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ ประเพณีความเชื่อ ความศรัทธา วิถีชีวิต วิธีประพฤติปฏิบัติ ศาสนา ภาษา

จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และมนุษย์เองเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม และเป็นปัจจัยที่สําคัญในการทําลาย และสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมอื่น

2. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ล้วนมีการพึ่งพาอาศัยกันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น หิน แร่ มีการผุสลายเป็นดิน ดินมีการพัฒนาเป็นลักษณะดินต่าง ๆ ลักษณะดินทําให้พืชพรรณธรรมชาติเจริญเติบโตไม่เหมือนกันพืชพรรณที่แตกต่างกันทําให้มีสัตว์หลากหลายชนิด เมื่อมนุษย์เข้ามาอาศัยในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่แตกต่างกันจะมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน เช่นชาวเขา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวนา ชาวประมง วิถีชีวิตต่างกันทําให้เกิดลักษณะทางสังคมที่ต่างกัน ลักษณะทางสังคมที่ต่างกันทําให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยธรรมชาติทุกสิ่งล้วนมีความเกี่ยวเนื่องกัน และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติจะค่อยเป็นค่อยไปและมีความสมดุลกัน

3. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

3.1 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทําของธรรมชาติมี 2 ลักษณะ ได้แก่

3.1.1 การเปลี่ยนแปลงแบบช้า ๆ ใช้เวลายาวนาน เช่น การผุกร่อนของหินจากการกระทําของฝนและนํ้าไหล การกัดเซาะชายฝั่งของคลื่นทะเล

3.1.2 การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น แผ่นดินไหว นํ้าท่วม การทรุดถล่มของแผ่นดินบริเวณไหล่เขา

3.2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

มนุษย์เป็นปัจจัยสําคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษในด้านการเรียนรู้ ฝึกหัดและพัฒนาปัญญาได้ดี และมนุษย์มีเจตนาหรือแรงจูงใจในการกระทําสิ่งต่าง ๆ เพราะสามารถประดิษฐ์และสร้างเครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง เครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมได้

เมื่อมนุษย์เข้ามาอยู่ในธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจนขาดความสมดุล เช่น การตัดไม้ทําลายป่าเพื่อนํามาสร้างที่อยู่อาศัย การทําลายป่าเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูก ทําให้ผืนป่าตามธรรมชาติลดน้อยลง สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย ถูกล่าทําลายจนสูญพันธุ์ เมื่อฝนตกหนักไม่มีผืนป่าปกคลุมหน้าดิน ไม่มีรากไม้ยึดเกาะดิน จึงถูกนํ้าเซาะกร่อนพังทลาย นํ้าจึงไหลหลากอย่างรวดเร็ว เกิดนํ้าท่วมในที่ราบ สุดท้ายมนุษย์จึงเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน

4. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ส่วนหนึ่งมนุษย์สามารถควบคุมได้ สามารถกําหนดวางแผน หรือหาแนวทางสร้างสรรค์ให้เป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ไม่ทําลายสมดุลธรรมชาติ และสร้างประโยชน์ต่อตนเองได้

ขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมหรือกําหนดได้ แต่สามารถป้องกันหรือลดผลกระทบจากที่รุนแรงให้เบาบางลงได้ เช่น ภัยจากแผ่นดินไหว สึนามิ ภัยที่เกิดจากนํ้าท่วม

5. การตั้งถิ่นฐาน การย้ายถิ่นฐาน

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมย่อมส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐาน การย้ายถิ่นฐาน และการดําเนินชีวิตของผู้คนในพื้นที่ ดังนี้

5.1 การตั้งถิ่นฐาน

สิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ และมีทรัพยากรธรรมชาติที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้มีการตั้งถิ่นฐานอยู่รวมกันจนเกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า นํ้าประปา และสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการกระทําของมนุษย์ที่ทําให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป

5.2 การย้ายถิ่นฐาน

การย้ายถิ่นฐาน หมายถึง การเคลื่อนย้ายทางประชากรจากพื้นที่หนึ่งไปอยู่ยังอีกพื้นที่หนึ่ง

ประชากร เป็นทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของชุมชน การเคลื่อนย้ายประชากรเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในชุมชน ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ในแต่ละจังหวัดมักประสบปัญหาความหนาแน่นของประชากรในเมือง และความเบาบางของประชากรในชนบท สาเหตุสําคัญของการเคลื่อนย้าย คือ การไปหางานทําเพื่อสร้างรายได้ที่ดีกว่า และการหาโอกาสเพื่อให้ได้รับการศึกษาที่ดีกว่า การย้ายถิ่นฐานมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การย้ายเข้ามาและการย้ายออกไป

การแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายประชากรสามารถทําได้ ดังนี้

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :