ลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อแหล่งทรัพยากรและสถานที่สําคัญในจังหวัด

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

1. ลักษณะภูมิประเทศ

1.1 ภูเขาและที่สูง เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำาคัญ คือ เป็นแหล่งแร่ และแหล่งหินชนิดต่าง ๆ ที่มีความสำาคัญทางเศรษฐกิจ

1.2 ที่ลาดเชิงเขาและที่ดอน ระหว่างพื้นที่ภูเขาและพื้นที่ราบมีพื้นที่สูง ที่ลาดเชิงเขาเป็นโคก โนน เนิน เนินเขาบางลูกมีแร่ดินขาวใช้ทำอุตสาหกรรมเซรามิก บริเวณเนินตะกอนรูปพัดเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหารจึงเหมาะแก่การทำาสวนผลไม้

1.3 ที่ราบ เป็นพื้นที่รองรับวัตถุต้นกำเนิดดิน โดยมีน้ำเป็นตัวพัดพามาจากเขตที่สูงตะกอนที่ทับถมในที่ราบมักเป็นตะกอนละเอียด อุดมด้วยธาตุอาหารในดิน ที่ราบจึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับ
การเพาะปลูก เช่น ข้าว บริเวณริมแม่น้ำใช้ทำสวน ผู้คนส่วนใหญ่นิยมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบ ส่งผลให้พื้นที่นี้เป็นแหล่งที่มีความเจริญในด้านต่าง ๆ

1.4 ที่ลุ่ม เป็นพื้นที่ต่ำมีน้ำขังตลอดปีหรือบางช่วง ปัจจุบันหนองบึงตื้นเขิน จึงใช้พื้นที่เป็นบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ทำฟาร์มบัว ปัจจุบันที่ลุ่มถูกพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับชุมชนและใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว

1.5 ชายฝั่งทะเล เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ เพราะมีสัตว์น้ำอาศัยอยู่มาก ลักษณะชายฝั่งที่เป็นแนวยาวระหว่างพื้นดินกับผืนน้ำ ทำให้ลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง และอาชีพให้บริการด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าเทียบเรือและเป็นเส้นทางการติดต่อค้าขายที่สำคัญ

2 . แหล่งนํ้า

แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง และแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อ่างเก็บน้ำ ฝายทดน้ำ ถือเป็นแหล่งทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงชีวิตทุกชีวิต ทั้งพืชพรรณ สัตว์ป่า และมนุษย์ จึงมีการตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นตามบริเวณสองฝั่งลำคลองหรือแม่น้ำ ผู้คนประกอบอาชีพเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ ประมงน้ำจืด แหล่งน้ำก่อให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีไหลเรือไฟ

3. ป่าไม้

ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ช่วยให้เกิดทรัพยากรอื่น ๆ เช่น พืชพรรณ สัตว์ป่า แหล่งต้นน้ำลำธาร ป่าไม้ทำให้อุณหภูมิเหนือป่าเย็นกว่า บริเวณโดยรอบ ทำาให้เกิดฝนตก เกิดน้ำไหลซึมตามผิวดิน ทำให้แร่ธาตุ ในหินผุสลาย พัดพาลงสู่ที่ต่ำ ช่วยสร้างดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ กลายเป็นเขตเกษตรกรรมและมีการตั้งถิ่นฐานของผู้คน ป่าไม้ยังช่วยป้องกันการพังทลายของแผ่นดินในเขตลาดชัน ความผูกพันระหว่างผู้คนกับป่าไม้ ทำให้เกิดประเพณีบวชป่า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนที่จะอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลาย

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :