หน้าที่เบื้องต้นของเงินในระบบเศรษฐกิจ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เงินมีหน้าที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจอยู่ 4 ประการ ครอบคลุม (1) เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (2) เงินเป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดมูลค่า (3) เงินเป็นมาตรฐานในการชำาระหนี้ในอนาคต และ (4) เงินเป็นสิ่งสะสมมูลค่า

1. เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เงินเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อและผู้ขายยอมรับให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยที่ผู้ขายยอมรับเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ในขณะที่ผู้ซื้อยินดีชำระเงินให้เป็นการแลกเปลี่ยน ดังนั้น เงินจึงเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ช่วยทำให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมีความสะดวก รวดเร็ว ซึ่งมีผลช่วยทำาให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น นักเรียนต้องการซื้อรองเท้า และยินดีชำระเงินให้กับผู้ขายถ้าผู้ขายยินดีจะยอมรับเงิน การซื้อขายแลกเปลี่ยนจึงจะเกิดขึ้น

2. เงินเป็นหน่วยมาตรฐานในการวัดมูลค่า การแสดงราคาเป็นหน่วยมาตรฐานของเงินช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าและบริการแต่ละชนิดได้ง่ายซื้อขายกันได้สะดวกขึ้น เช่น สมุดเล่มละ 20บาท ปากการาคาด้ามละ 5 บาท เมื่อนำเอาราคาของสมุดและปากกามาเปรียบเทียบกันก็จะทราบว่า สมุด 1 เล่มมีราคาเท่ากับปากกา 4 ด้าม

3. เงินเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต ในกรณีที่มีการกู้ยืมเงิน เช่น กู้เงินเพื่อซื้อบ้าน ซื้อตู้เย็น หรือซื้อสินค้าต่าง ๆ โดยผู้ขายยินดีให้ผู้ซื้อชำาระเงินในภายหลัง เมื่อครบกำหนดชำาระหนี้ผู้กู้ต้องนำเงินมาชำระให้แก่ผู้ขายพร้อมดอกเบี้ย

4. เงินเป็นสิ่งสะสมมูลค่า เงินเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง ผู้คนส่วนใหญ่นิยมเก็บสะสมไว้เพื่อนำมาใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เมื่อนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารก็จะได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :