หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมุ่งเน้นให้คนไทย พึ่งพาตนเอง ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งเป็นรากฐาน อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแนวคิดหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถนำมา ประยุกต์ใช้ตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับประเทศ

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญ ดังนี้

1. ความพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
1.1 ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น ใช้เงินให้พอดีกับรายรับ
1.2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยเหตุผล เช่น ตัดสินใจซื้อดินสอแท่งใหม่เพราะดินสอแท่งเดิมใช้หมดแล้ว ไม่ใช่ตัดสินใจเพราะอยากได้ดินสอแท่งใหม่เพิ่ม
1.3 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

2. เงื่อนไข ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
2.1 เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ต้องมีความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ มีการใช้ความรู้อย่างรอบคอบและนำาความรู้มาใช้ปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง
2.2 เงื่อนไขคุณธรรม ประกอบด้วย การมีความซื่อสัตย์สุจริตมีความอดทน มีความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ และแบ่งปันให้ผู้อื่นตามความเหมาะสม

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :