สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภค

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ในชีวิตประจำาวันเราต้องรับประทานอาหาร ซื้อเครื่องเขียน แบบเรียนบางคนต้องใช้รถโดยสารประจำาทาง ต้องใช้ถนน ใช้สะพาน ต้องใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้าทั้งเมื่ออยู่ที่บ้านและอยู่ที่โรงเรียน ใช้โทรศัพท์ติดต่อกับเพื่อน หรือญาติพี่น้อง ในวันหยุดหรือปิดเทอม บางคนไปชมภาพยนตร์ ชมละคร ไปเที่ยวสวนสาธารณะ ไปเที่ยวภูเขา ไปเที่ยวทะเล

ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ใช้สินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ซึ่งสินค้าและบริการบางชนิดไม่มีคุณภาพ หรือทำาให้ผู้บริโภคเดือดร้อน ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรรู้สิทธิของตนเอง เพื่อให้สามารถเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการได้อย่างถูกต้อง

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ครอบคลุม (1) สิทธิในการเลือกซื้อสินค้าและบริการอย่างอิสระ (2) สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากการโฆษณา หรือการแสดงคุณภาพของสินค้าและบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอ (3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ (4) สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายเมื่อถูกละเมิด และ (5) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำาสัญญา

1. สิทธิในการเลือกซื้อสินค้าและบริการอย่างอิสระ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้อย่างอิสระ หากผู้ขายมีการบังคับให้ซื้อสินค้าชนิดอื่น ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องสิทธิได้
2. สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารจากการโฆษณา หรือการแสดงคุณภาพของสินค้าและบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอ ผู้ผลิตสินค้าและบริการ ต้องนำาเสนอข้อมูลตามความเป็นจริงและไม่แสดงข้อมูลที่ทำาให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด หลงซื้อหรือใช้บริการ เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งโฆษณาขายเตารีดว่า
ไม่พอใจยินดีคืนเงิน” แต่ในความเป็นจริงมีเงื่อนไขว่า จะรับคืนภายในเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ซื้อไปเท่านั้น
ดังนั้น ผู้ซื้ออาจเข้าใจว่าถ้าไม่พอใจก็สามารถคืนสินค้าเมื่อไรก็ได้
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ ผู้ผลิตและผู้ให้บริการจะต้องผลิตสินค้าและบริการที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น แม่ค้าต้องเลือกเนื้อสัตว์และผักที่สะอาดมาปรุงอาหารผู้ให้บริการรถโดยสารต้องเลือกรถที่ไม่ชำารุด มีสภาพดี ไม่เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร และขับรถโดยสารด้วยความระมัดระวัง
4. สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายเมื่อถูกละเมิด ถ้าผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือใช้บริการแล้วได้รับความเสียหาย เช่น เมื่อซื้อนมกล่องที่ยังไม่หมดอายุ แต่เมื่อดื่มแล้วพบว่านมบูด ทำให้ท้องเสียต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากผู้ผลิตได้
5. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ผู้บริโภคจะต้องได้รับสัญญาที่ไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ เช่น ในสัญญาซื้อขายบ้าน หากผู้ขายบ้านระบุว่าจะแถมเครื่องปรับอากาศ แต่ผู้ขายบ้านไม่แถมเครื่องปรับอากาศให้ ถือว่าเป็นการละเมิดสัญญา ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องสิทธิได้

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :