การประเมินความน่าเชื่อถือข้อมูล

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่อิสระเสรีที่ผู้คนต่างก็สามารถสร้างข้อมูลแล้วอัปโหลดเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งข้อมูลบางส่วนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็ได้

ดังนั้น ก่อนที่เราจะนําข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้จะต้องประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยว่า ข้อมูลที่จะนํามาใช้นั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด โดยวิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ต มีอยู่ 5 ขั้นตอน ครอบคลุม (1) พิจารณาเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ (2) มีชื่อผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูลระบุไว้ (3) มีวันที่เผยแพร่และครั้งที่ปรับปรุง (4) มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และ (5) บอกวัตถุประสงค์ในการจัดทำ

1) พิจารณาเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ

การพิจารณาเว็บไซต์ว่า เว็บไซต์นั้นเชื่อถือได้หรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากส่วนท้ายของชื่อเว็บไซต์ ดังนี้

ลงท้ายด้วยความหมายระดับความน่าเชื่อถือ
.go.thเว็บไซต์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐมาก
.ac.th, .edu เว็บไซต์ทางการศึกษา มาก
.or.thเว็บไซต์ขององค์กรที่ไม่หวังผลกําไรพอใช้
.co.th, .comเว็บไซต์ทางการค้าน้อย
.mi.thเว็บไซต์ทางการทหารมาก

2) มีชื่อผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูลระบุไว้

ข้อมูลที่มีการระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้ ให้ข้อมูลไว้ จะทําให้ผู้ค้นหาข้อมูลทราบว่า ข้อมูลนั้นจัดทําขึ้นโดยใคร หรือมีใครเป็นผู้ให้ข้อมูลไว้

3) มีวันที่เผยแพร่และครั้งที่ปรับปรุง

ข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลที่มีการระบุวันที่เผยแพร่และครั้งที่ปรับปรุง จะทําให้ผู้ที่ค้นหาข้อมูลทราบว่า ข้อมูลนั้นจัดทําและมีการปรับปรุงเมื่อใด เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาในการเลือกใช้ข้อมูลที่ทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากที่สุด

4) มีการอ้างอิงแหล่งที่มา

การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลเป็นการอ้างอิงว่า ข้อมูลที่นํามาเสนอในเว็บไซต์นั้น ๆ นํามาจากแหล่งข้อมูลใดบ้าง เพื่อใช้ ในการพิจารณาว่า ข้อมูลนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

5) บอกวัตถุประสงค์ในการจัดทำ

การบอกวัตถุประสงค์ ในการจัดทําเป็นการแสดงให้เห็นว่าข้อมูลนั้นจัดทําขึ้นด้วยเหตุผลใด

กิจกรรม

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :