อันตรายจากการติดตั้งซอฟต์แวร์จากอินเทอร์เน็ต

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ง่าย และมีความเร็วสูงทำาให้การประมวลผล ของคอมพิวเตอร์ทำางานบนคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การประมวลผลเป็นกลุ่มเมฆ

ซึ่งการประมวลผลสามารถกระทำาร่วมกันและใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกันได้ รวมไปถึง การติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ จะใช้วิธีติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เก็บไว้บนอินเทอร์เน็ต หรือบนระบบคลาวด์ ทำาให้ไม่ต้องใช้หน่วยความจำาของคอมพิวเตอร์ในการติดตั้งซอฟต์แวร์ เหมือนในอดีต

เมื่อระบบออกแบบให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น ทำาให้มีอันตรายต่าง ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน เช่น การคลิกเมาส์เลือกข้อมูลหรือโฆษณาปลอม อาจทำให้มีการติดตั้งโปรแกรม ที่เราไม่ต้องการลงในคอมพิวเตอร์ ทำให้การทำงานของเครื่องเปลี่ยนไป หรือมีภาพข้อความบางอย่างดึงดูดใจให้เราคลิกเมาส์เข้าไปแล้วมีการติดตั้งโปรแกรมบางอย่าง โดยอัตโนมัติสำหรับการค้นหาโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ตมาติดตั้งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้ ติดตั้งซอฟต์แวร์ได้ง่าย แต่บางครั้งซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อาจเป็นอันตราย และอาจเป็นซอฟต์แวร์ปลอมที่ส่งผลเสียต่อคอมพิวเตอร์ของเราได้ ดังนั้น การเลือกซอฟต์แวร์มาใช้ควรพิจารณาจากแหล่งข้อมูลด้วยว่าเชื่อถือได้หรือไม่ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายหรือส่งผลเสียต่อการใช้งาน ทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งานมีหลายประเภท เช่น ไวรัส (Virus) โทรจัน (Trojan) สปายแวร์ (Spyware) วอร์ม (Worm) เราเรียกกลุ่มของโปรแกรมเหล่านี้ที่ออกแบบ มาเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์ว่า มัลแวร์ (Malware) ดังนั้น การป้องกันเบื้องต้น สามารถทำได้ ดังนี้

  1. อัปเดตซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอย่างสมำ่าเสมอ
  2. ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ในคอมพิวเตอร์
  3. ไม่คลิกข้อความที่แสดงโฆษณาหรือหน้าโปรแกรมต่าง ๆ ที่แปลกปลอมระหว่างการใช้งาน
  4. ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือมาติดตั้งในคอมพิวเตอร์
  5. ไม่เปิดอีเมลหรือไฟล์แนบต่าง ๆ ที่ไม่รู้จัก

การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมาลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ มักพบโปรแกรมที่เรียกว่า มัลแวร์ (Malicious Software : Malware) ซึ่งเป็นเครื่องมือก่อปัญหาอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตที่แฝงมากับซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง โดยมัลแวร์ที่พบในปัจจุบันมี 6 ประเภท ครอบคลุม (1) ไวรัสคอมพิวเตอร์ (2) หนอนอินเทอร์เน็ต (3) โปรแกรมดักจับข้อมูล (4) โปรแกรมโฆษณา (5) โปรแกรมเรียกค่าไถ่ และ (6) ม้าโทรจัน

  1. ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อขัดขวางการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความรําคาญ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลหรือระบบการทำงานคอมพิวเตอร์ โดยไวรัสคอมพิวเตอร์มักติดมากับไฟล์งานต่าง ๆ และจะทำงานเมื่อมีการเปิดใช้งานไฟล์งานนั้นขึ้นมา
  2. หนอนอินเทอร์เน็ต หรือวอร์ม (Worm) เป็นโปรแกรมอันตรายที่ใช้วิธีหาจุดอ่อนของระบบรักษาความปลอดภัย แล้วแพร่กระจายไปสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็วทำให้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเกิดความเสียหายที่รุนแรง
  3. โปรแกรมดักจับข้อมูล หรือสปายแวร์ (Spyware) เป็นโปรแกรมที่แอบขโมยข้อมูลของผู้ใช้ระหว่างใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตไปใช้ในการโฆษณา
  4. โปรแกรมโฆษณา หรือแอ็ดแวร์ (Advertising Supported Software:Adware) เป็นโปรแกรมที่แฝงมากับโปรแกรมทั่วไป ทำหน้าที่แสดงโฆษณาอย่างต่อเนื่องหรือดาวน์โหลดโฆษณาอัตโนมัติ ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ใช้
  5. โปรแกรมเรียกค่าไถ่ (Ransomeware) เป็นโปรแกรมที่ขัดขวางการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลภายในอุปกรณ์เทคโนโลยีโดยการเข้ารหัสจนกว่าผู้ใช้จะจ่ายเงินให้ผู้เรียกค่าไถ่จึงจะได้รับรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานไฟล์ดังกล่าว
  6. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่หลอกลวงผู้ใช้ให้ติดตั้งและเรียกใช้งาน แต่เมื่อเรียกใช้งานแล้วจะเริ่มทำงานเพื่อสร้างปัญหาตามที่ผู้เขียนกำหนด เช่น ลักลอบส่งออกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ทำลายระบบ
คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :