กำหนดการสอน
สาระทัศนศิลป์
หน่วย | ครั้งที่ | เรื่อง | วันที่ |
---|---|---|---|
สวยงามด้วยความสมดุล | 1 | สวยงามด้วยความสมดุล | 3 กรกฎาคม 2564 |
สีตรงข้ามก็งามได้ | 2 | สีตรงข้ามก็งามได้ | 10 กรกฎาคม 2564 |
2 มิติสู่ 3 มิติ | 3 | 2 มิติสู่ 3 มิติ | 17 กรกฎาคม 2564 |
ปั้นแต่งเติม เพิ่มและลด | 4 | ปั้นแต่งเติม เพิ่มและลด | 24 กรกฎาคม 2564 |
ภาพนี้มีความหมาย | 5 | ภาพนี้มีความหมาย | 31 กรกฎาคม 2564 |
ทัศนศิลป์สะท้อนชีวิต | 6 | ทัศนศิลป์สะท้อนชีวิต | 7 สิงหาคม 2564 |
สาระดนตรี
หน่วย | ครั้งที่ | เรื่อง | วันที่ |
---|---|---|---|
สวยงามด้วยความสมดุล | 7 | องค์ประกอบดนตรีและศัพท์สังคีต | 14 สิงหาคม 2564 |
เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล | 8 | เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล | 21 สิงหาคม 2564 |
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี | 9 | เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี | 28 สิงหาคม 2564 |
หลักการร้องเพลง | 10 | หลักการร้องเพลง | 4 กันยายน 2564 |
สาระทัศนศิลป์
หน่วยที่ 1 สวยงามด้วยความสมดุล (4 ชั่วโมง)
หลักการจัดขนาดสัดส่วน ความสมดุล รูปและพื้นที่ว่าง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างงานทัศนศิลป์
หน่วยที่ 2 สีตรงข้ามก็งามได้ (4 ชั่วโมง)
สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ
หน่วยที่ 3 2 มิติ สู่ 3 มิติ (12 ชั่วโมง)
การวาดภาพ 2 มิติ ให้เป็นภาพ 3 มิติ จำเป็นต้องใช้เส้นอย่างถูกต้องและมีการลงน้ำหนักแสงเงาในภาพ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้สร้างงานทัศนศิลป์ต้องรู้และเข้าใจเพื่อนำไปใช้สร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้มีความลงตัว และสามารถนำความรู้พื้นฐานไปประยุกต์สร้างสรรค์ผลงานให้มีความแปลกใหม่ได้อย่างเหมาะสม
หน่วยที่ 4 ปั้นแต่งเติม เพิ่มและลด (8 ชั่วโมง)
หลักการเพิ่มและลดเป็นสิ่งสำคัญในงานปั้น เมื่อนักเรียนต้องการปั้นสิ่งใด ๆ นักเรียนควรกำหนดภาพสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นในใจก่อน แล้วจึงลงมือปั้นโดยเพิ่มและลดวัสดุที่นำมาปั้นให้เกิดเป็นรูปทรงที่ต้องการ
หน่วยที่ 5 ภาพนี้มีความหมาย (8 ชั่วโมง)
การสร้างแผนภาพ แผนผัง และภาพประกอบเพื่อถ่ายทอดความคิด หรือเล่าเรื่องราวต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการจัดลำดับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอประกอบการใช้ทักษะและความคิดสร้างสรรค์ในการวาด
หน่วยที่ 6 ทัศนศิลป์สะท้อนชีวิต (3 ชั่วโมง)
งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น เป็นงานที่มาจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน โดยอาศัยแรงบันดาลใจจากอิทธิพลของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น ความเชื่อในศาสนา วัฒนธรรมในท้องถิ่น ทุกผลงานที่ออกมาจึงสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น ๆ
สาระดนตรี
ความรู้เรื่ององค์ประกอบของดนตรีและศัพท์สังคีตจะทำให้เราเข้าใจบทเพลงง่ายขึ้น จึงควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เครื่องดนตรีไทยและเครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีไทยและสากลมีรูปร่างลักษณะและบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงแตกต่างกันแต่เมื่อนำมาบรรเลงร่วมกันจะทำให้เกิดเป็นบทเพลงที่ไพเราะน่าฟัง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี
การเรียนรู้เกี่ยวกับโน้ตเพลง เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในบทเพลงจะทำให้อ่านโน้ตเพลงได้เข้าใจและเขียนโน้ตเพลงได้ และยังทำให้เข้าใจจังหวะและทำนองของบทเพลงด้วย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง หลักการร้องเพลง
ผู้ขับร้องเพลงต้องมีการฝึกฝนการร้องเพลงอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร้องเพลงได้ไพเราะและตรงตามจังหวะและทำนองทำให้บทเพลงมีความไพเราะน่าฟัง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์เพลงและหลักการฟังเพลง
การวิเคราะห์บทเพลงโดยอาศัยหลักการฟังเพลง จะทำให้ผู้ฟังสามารถวิเคราะห์เพลง เข้าใจความหมายของบทเพลงและองค์ประกอบของบทเพลงมากขึ้น และทำให้เกิดความซาบซึ้งหรือสนุกสนานไปกับจังหวะทำนองและอารมณ์ของบทเพลง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง วิวัฒนาการดนตรีไทย
ดนตรีไทยเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ล้ำค่าและอยู่คู่กับคนไทยมาแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทุกคนควรร่วมมือกันอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป
สาระนาฏศิลป์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์
การประดิษฐ์ท่าทางและออกแบบอุปกรณ์การแสดงพื้นเมืองจะทำให้การแสดงดูสวยงามและน่าสนใจ แสดงให้เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง นาฏยศัพท์และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทย
นาฏยศัพท์และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ชมการแสดงนาฏศิลป์เข้าใจการแสดงได้ง่ายขึ้น ทำให้การแสดงมีความสวยงาม น่าสนใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์และละคร
การแสดงนาฏศิลป์ไทยและละครต่าง ๆ เป็นการแสดงที่มีความสวยงามเป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยและเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติที่ทุกคนควรร่วมมือกันอนุรักษ์ให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง มารยาทในการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร
การชมการแสดงที่ดี ผู้ชมการแสดงมีมารยาทและมีหลักในการชมการแสดงที่ดีจะทำให้ผู้ชมได้ซาบซึ้งและเข้าใจการแสดงมากขึ้น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง บทบาทหน้าที่งานนาฏศิลป์และการละคร
บุคคลที่ได้รับหน้าที่งานนาฏศิลป์และละครจะต้องมีความรับผิดชอบในหน้าที่เท่านั้น และทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เพราะจะทำให้การแสดงมีคุณภาพและเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่รับชม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ประวัตินาฏศิลป์และการละครของไทย
นาฏศิลป์และละครไทยเป็นศิลปะการแสดงที่มีมาแต่อดีต เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทย เราคนไทยทุกคนจึงต้องร่วมมือกันอนุรักษ์สืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยสืบไป