Kruaof.com

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง “การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม” แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

สำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจทำได้โดยทดลองตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน หรือทีละคำสั่ง  เมื่อพบจุดที่ทำงานไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

เนื้อหา การศึกษาเรื่อง “การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม”

สำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจทำได้โดยทดลองตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน หรือที่ละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำงานไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินไปเก็บน้ำหวาน จะต้องให้ผึ้งเดินไปข้างหน้า 2 ครั้ง แล้วเลี้ยวขวา จากนั้นเดินไปข้างหน้าอีก 2 ครั้ง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าตำแหน่งนั้นเป็นน้ำหวานหรือไม่ ถ้าใช่ให้เก็บน้ำหวาน ดังภาพ

การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินทางไปรับน้ำหวาน
รูปที่ 1 การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินทางไปรับน้ำหวาน

ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานไม่ถูกต้องอาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมโดยให้ผึ้งทำงานที่ละคำสั่ง โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม เป็นขั้นตอน ดังภาพ

รูปที่ 2 การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมเป็นขั้นตอนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

นักเรียนพิจารณาทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม หากพบตำแหน่งที่ผิดพลาดให้เขียนโปรแกรมใหม่ ซึ่งในกรณีนี้พบว่าในการทำซ้ำ 2 ครั้งสุดท้าย ผึ้งไม่ได้เดินไปข้างหน้า ดังนั้นจะต้องแก้ไขโดยนำบล็อกคำสั่ง ไปข้างหน้า มาไว้ภายในบล็อกคำสั่งทำซ้ำนั่นเอง

รูปที่ 3 การแก้ไขบล็อกคำสั่งให้ผึ้งเดินทางไปข้างหน้า

การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดความผิดพลาดจึงต้องมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยจะกระทำไปทีละขั้นตอนหรือทีละคำสั่ง ทั้งนี้

การตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมต้องใช้ประสบการณ์ แต่เราอาจฝึกสิ่งเหล่านี้ได้โดยการช่วยหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมของผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะในการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Exit mobile version
ข้ามไปยังทูลบาร์