Site icon Kruaof.com

ONET ป.6 วิทย์ มฐ. 2.2

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงดึงดูดที่โลกกระทําต่อวัตถุมีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางโลก และเป็นแรงมีสัมผัสแรงดึงดูดที่โลกกระทํากับวัตถุหนึ่ง ๆ ทําให้วัตถุตกลงสู่พื้นโลก และทําให้วัตถุมีนํ้าหนัก วัดนํ้าหนักของวัตถุได้จากเครื่องชั่งสปริง นํ้าหนักของวัตถุขึ้นกับมวลของวัตถุ โดยวัตถุที่มีมวลมากจะมีนํ้าหนักมาก วัตถุที่มีมวลน้อยจะมีนํ้าหนักน้อย

มวล คือ ปริมาณเนื้อของสสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นวัตถุ ซึ่งมีผลต่อความยากง่ายในการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้ยากกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย ดังนั้น มวลของวัตถุนอกจากจะหมายถึงเนื้อทั้งหมดของวัตถุนั้นแล้ว ยังหมายถึงการต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นด้วย

แรงลัพธ์เป็นผลรวมของแรงที่กระทําต่อวัตถุ โดยแรงลัพธ์ของแรง 2 แรงที่กระทําต่อวัตถุเดียวกันจะมีขนาดเท่ากับผลรวมของแรงทั้งสองเมื่อแรงทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกันแต่มีทิศทางตรงข้ามกัน สําหรับวัตถุที่อยู่นิ่ง แรงลัพธ์ที่กระทําต่อวัตถุมีค่าเป็นศูนย์

การเขียนแผนภาพของแรงที่กระทําต่อวัตถุ สามารถเขียนได้โดยใช้ลูกศร โดยหัวลูกศรแสดงทิศทางของแรงและความยาวของลูกศรแสดงขนาดของแรงที่กระทําต่อวัตถุ

แรงเสียดทานเป็นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ เพื่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น โดยถ้าออกแรงกระทําต่อวัตถุที่อยู่นิ่งบนพื้นผิวหนึ่งให้เคลื่อนที่แรงเสียดทานจากพื้นผิวนั้นก็จะต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่ถ้าวัตถุกําลังเคลื่อนที่ แรงเสียดทานก็จะทําให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง

วัตถุ 2 ชนิด ที่ผ่านการขัดถูแล้ว เมื่อนําเข้าใกล้กันอาจดึงดูดหรือผลักกัน แรงที่เกิดขึ้นนี้เป็นแรงไฟฟ้าซึ่งเป็นแรงไม่สัมผัส เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ประจุไฟฟ้าบวกและประจุไฟฟ้าลบ วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าชนิดเดียวกันผลักกัน ชนิดตรงข้ามกันดึงดูดกัน

4 ตัวเลือก 1คําตอบ (3ข้อ) 15 คะแนน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Exit mobile version
ข้ามไปยังทูลบาร์