Kruaof.com

การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ หลักการและแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมร่วมกับการฝึกคิดหลากหลายมิติ จนเกิดองค์ความรู์ในเรื่องที่ทํานั้นอย่างลึกซึ้ง ดังที่ Bonwell & Eison (1991) ได้ให้คําจํากัดความไว้ว่า Active Learning is Instructional Activities involving students in doing things and thinking about what they are doing ปัจจุบัน Active Learning ถูกแปลความหมาย และใช้คําในภาษาไทยหลายคํา อาทิ การเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้แบบกระตือรือร้น การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยมีลักษณะที่สําคัญ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559: 26-27) ดังนี้

  1. ผู้สอนควรกําหนด เป้าประสงค์ (Purposive) โดยเป้าประสงค์นั้นควรสัมพันธ์กับกิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เน้นการพัฒนาทักษะผู้เรียนมากกว่าการเนื้อหาเน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการกําหนดแนวคิด การวางแผนการเรียนรู้ การยอมรับ การประเมินผลและการนําเสนอผลงาน
  3. วิธีการจัดการเรียนรู้สามารถสะท้อน สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ได้จากกิจกรรม และสามารถผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้สอนทันทีทันใดในการทํากิจกรรม
  4. ควรมีกิจกรรมการเจรจาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
  5. ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ และไม่ชอบ รวมทั้ง
    วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียนรู้
  6. ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ และความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกิจกรรม ที่ทําต้องมีความหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงแก้ปัญหาได้ตามสภาพจริง (Authentic Situation)
  7. การจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในระดับสูง (Higher Order Thinking) ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์นั้น
  8. การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียน กับชีวิตจริง หรือสถานการณ์จริงรวมถึงการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
  9. การจัดการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเรียนเหมือนไม่เรียน สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการทํางานร่วมกับผู้อื่น ใช้กระบวนการกลุ่ม และมีการประเมินผลที่หลากหลายทั้งตัวผู้เรียน เพื่อนและผู้สอน
  10. การจัดการเรียนรู้ที่ไม่จํากัดเฉพาะการเรียนรู้ภายในห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุก สถานการณ์ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ที่บ้าน และสามารถเรียนรู้ได้จากบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องทํา ให้ความรู้ไม่มีขอบเขตจํากัด
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Exit mobile version
ข้ามไปยังทูลบาร์