Kruaof.com

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เน้นศึกษาหาความจริงโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขและอาศัยขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรู้สภาพ เพื่อจําแนก เปรียบเทียบ เพื่อสังเคราะห์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ นําไปสู่การเขียนทฤษฎีทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น ทฤษฎีด้านจิตวิทยา ทฤษฎีทางสังคมวิทยา ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น การวิจัยกลุ่มนี้เน้นการใช้วิธีการทางสถิติมาอธิบายหรือใช้ข้อมูลที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขที่สามารถวัดได้

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ได้ข้อสรุปจากคนจํานวนมากเน้นการสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากร (Generalization) มีความเป็นปรนัย ผลงานวิจัยมีความแกร่ง สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปร ได้ดีสามารถยืนยันหรือตรวจสอบความเป็นเหตุและผลของข้อสรุปจากการวิจัยให้เป็นแนวคิดทฤษฎีที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางได้ ความลําเอียงในการวิจัยได้รับการควบคุมโดยวิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่รัดกุม เน้นการนําเสนอข้อมูลที่เป็นค่าหรือตัวเลขที่วัดได้เพราะคนส่วนใหญ่ค่อนข้าง เข้าใจตรงกันในการนําเสนอผลการวิจัยด้วยตัวเลข และจําเป็นต้องใช้สถิติมาช่วยอธิบาย สําหรับข้อจํากัดของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ รายงานเฉพาะค่าสถิติหรือตัวเลขตามสมมุติฐานเป็นหลักโดยไม่บรรยายรายละเอียดเพิ่มเติมอาจทําให้ข้อค้นพบที่สําคัญบางอย่างขาดหายไป และขาดสีสันของการรายงาน (Dry Result) ทําให้ผู้อ่านไม่อยากอ่าน มักละเลยข้อมูลแวดล้อมที่สําคัญและไม่ค่อยสนใจผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับปัญหาการวิจัยอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ หากสร้างเครื่องมือวิจัยไม่ดี เช่น ข้อคําถามในแบบประเมินไม่ได้วัดในเรื่องเดียวกัน หรือไม่มีความเป็นเอกพันธ์ (Homogeneity) เป็นต้น จะส่งผลทําให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสิ่งที่มุ่งวัด และผลการวิจัยขาดความน่าเชื่อถือจนไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้และผลการวิจัยไม่ค่อยให้รายละเอียดในเชิงลุ่มลึก ประเด็นนี้เข้าข่ายรู้รอบ แต่ไม้ลึกซึ้ง (สุบิน ยุระรัช. 2559: 8-9)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Exit mobile version
ข้ามไปยังทูลบาร์