ตัวชี้วัดที่ต้องเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ส 1.1 ป.5/1 อยู่ในหน่วยที่ 1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ และศาสนาที่ตนนับถือ
ส 1.1 ป.5/2 อยู่ในหน่วยที่ 1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ และศาสนาที่ตนนับถือ
ส 1.1 ป.5/5 อยู่ในหน่วยที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ
ส 2.1 ป.5/1 อยู่ในหน่วยที่ 1 พลเมืองดีของสังคม
ส 2.1 ป.5/2 อยู่ในหน่วยที่ 2 สิทธิเด็กและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กในสังคมไทย
ส 3.1 ป.5/1 อยู่ในหน่วยที่ 1 การผลิตสินค้าและบริการ
ส 3.1 ป.5/2 อยู่ในหน่วยที่ 2 เศรษฐกิจพอเพียง
ส 3.1 ป.5/3 อยู่ในหน่วยที่ 3 สหกรณ์
ส 3.2 ป.5/1 อยู่ในหน่วยที่ 4 ธนาคาร
ส 5.2 ป.5/1 อยู่ในหน่วยที่ 2 การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นฐานของประชากรในภูมิภาคต่าง ๆ
ส 5.2 ป.5/2 อยู่ในหน่วยที่ 1 ภูมิลักษณะและภูมิสังคมของภูมิภาคต่าง ๆ
ส 5.2 ป.5/3 อยู่ในหน่วยที่ 3 สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆ
สาระ : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความสำคัญของพระพุทธศาสนา พุทธประวัติ และศาสนาที่ตนนับถือ
นักเรียนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนาเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นหลักในการพัฒนาชาติไทยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นในสังคม พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจที่เป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชน โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก การศึกษาพุทธประวัติจะทำให้ได้แบบอย่างที่ดีของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ศาสนาทุกศาสนามีศาสดาเป็นผู้เผยแผ่ศาสนา การศึกษาประวัติของศาสดาของศาสนาต่าง ๆจะทำให้เข้าใจความเป็นมาของแต่ละศาสนามากยิ่งขึ้น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง
นักเรียนเข้าใจว่า พุทธสาวกที่ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีควรได้รับการยกย่องและนำมาเป็นแบบอย่าง
ชาดก เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ซึ่งให้ข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้
พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง เป็นบุคคลที่นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปฏิบัติ ควรค่าแก่การยกย่องและนำมาเป็นแบบอย่าง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พระไตรปิฎก
นักเรียนเข้าใจว่า พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ พุทธศาสนิกชนควรศึกษาพระไตรปิฎก เพื่อนำหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติ และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบต่อไป
คัมภีร์ของศาสนาต่าง ๆ เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนของแต่ละศาสนา เพื่อให้ศาสนิกชนนำไปศึกษา และปฏิบัติ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ
นักเรียนเข้าใจว่า หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย ไตรสิกขา หลักธรรมโอวาท 3 พุทธศาสนสุภาษิต และหลักธรรมเพื่อพัฒนาตนเองและสิ่งแวดล้อม เป็นหลักคำสอนให้ทุกคนงดเว้นจากการทำความชั่ว ส่งเสริมการทำความดี และพัฒนาจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยตนเองและบุคคลอื่น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หน้าที่และมรรยาทชาวพุทธ
นักเรียนเข้าใจว่า พุทธศาสนิกชน จำเป็นต้องปฏิบัติตนตามหน้าที่และมรรยาทของชาวพุทธเพื่อสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบต่อไป
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา
นักเรียนเข้าใจว่า การบริหารจิตและเจริญปัญญาเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาตนเองให้มีสติมีสุขภาพทางจิตที่ดี ดำเนินชีวิตได้ด้วยความไม่ประมาท
หน่วยการเรียนรู้ที่7 ศาสนพิธีและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
นักเรียนเข้าใจว่า ศาสนพิธีเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่จัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่นับถือศาสนาและเป็นแบบแผนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือวันที่มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพระรัตนตรัยเกิดขึ้น โดยพุทธศาสนิกชนจะจัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรม
สาระ : หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พลเมืองดีของสังคม
นักเรียนเข้าใจว่า พลเมืองดีจะต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบข้อบังคับ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิทธิเด็กและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กในสังคมไทย
นักเรียนเข้าใจว่า สิทธิเด็กเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กพึงได้รับ เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง เพื่อให้เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตหน่วยงานต่าง ๆ จึงควรช่วยกันดูแล เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิเด็ก
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย
นักเรียนเข้าใจว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นเพื่อให้สามารถควบคุม ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในท้องถิ่นได้ และสามารถพัฒนาท้องถิ่นให้เกิดความเจริญก้าวหน้าได้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
นักเรียนเข้าใจว่า วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญงอกงามประสบการณ์บรรพบุรุษที่สั่งสมและสืบทอดต่อกันมา
สาระ : เศรษฐศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การผลิตสินค้าและบริการ
นักเรียนเข้าใจว่า สินค้าและบริการอาศัยปัจจัยการผลิตประกอบด้วยที่ดิน แรงงาน ทุนและผู้ประกอบการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เศรษฐกิจพอเพียง
นักเรียนเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สหกรณ์
นักเรียนเข้าใจว่า สหกรณ์ เป็นการรวมกลุ่มกันของสมาชิกด้วยความสมัครใจ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม โดยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันและยึดหลักประชาธิปไตย
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ธนาคาร
นักเรียนเข้าใจว่า ธนาคารมีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการด้านการเงิน การกู้ยืมเงิน ช่วยให้ผู้กู้สามารถ นำเงินไปใช้ประโยชน์ก่อนได้ โดยมีกำหนดระยะเวลาใช้เงินคืนในภายหลัง และผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้
สาระ : ภูมิศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ภูมิลักษณ์และภูมิสังคมของภูมิภาคต่าง ๆ
นักเรียนเข้าใจว่า ประเทศไทยแบ่งภาคทางภูมิศาสตร์ได้เป็น 6 ภูมิภาค แต่ละภูมิภาคมีลักษณะทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ภูมิลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญ เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตของผู้คนในแต่ละภูมิภาคให้มีความแตกต่างกัน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นฐานของประชากรในภูมิภาคต่าง ๆ
นักเรียนเข้าใจว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานของประชากรโดยส่วนใหญ่ประชากรจะนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบอุดมสมบูรณ์ มีความปลอดภัยและมีสิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของประชากรเกิดจากหลายปัจจัยเช่น ความเจริญด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนในการผลักดันให้ประชากรเกิดการย้ายถิ่นฐาน ดังนั้น การตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นฐานล้วนมีความสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งสิ้น ทุกคนควรสร้างจิตสำนึกในการดูแล รักษา และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆ
นักเรียนเข้าใจว่า มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมมีทั้งการรักษาและการทำลาย ผลของการทำลายสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา และในที่สุดจึงส่งผลกระทบต่อมนุษย์ทุกคน การดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรร่วมมือกัน เพื่อให้สิ่งแวดล้อมคงอยู่อย่างสมดุลและยั่งยืน