แบบทดสอบ หน้าที่พลเมือง ม.2

http://www.thaitestonline.com/test_10_on_74296.html
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

แบบทดสอบ หน้าที่พลเมือง ม.2

http://www.thaitestonline.com/test_10_on_74296.html

 

 

 

วิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   จำนวน 50 ข้อ

คำชี้แจง   ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว

๑.  ข้อใดกล่าวถึงความหมายของประชาธิปไตยได้ชัดเจนที่สุด

  • การปกครองที่เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่
  • การปกครองที่มีรัฐบาลเป็นสถาบันในการดำเนินกิจการทางการเมือง
  • การปกครองที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้ออกกฎหมายและบริหารประเทศ
  • การปกครองที่ถือว่าประชาชนทุกกลุ่ม ทุกเพศ  ทุกฐานะ  มีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองเท่าเทียมกัน

๒.  จากคำกล่าวของอับบราฮัม  ลินคอร์น ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า ประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน  และเพื่อประชาชน  คำว่า เพื่อประชาชน หมายถึงข้อใดมากที่สุด

  • เป็นการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิปกครองตนเอง
  • เป็นการปกครองที่อำนาจอธิปไตยที่ใช้เป็นอำนาจที่มาจากประชาชน
  • เป็นการปกครองที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ
  • เป็นการปกครองที่ให้ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนตน

๓.   การกระทำในข้อใดที่แสดงถึงคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย

ก.    แก้วกล่าวโจมตีผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม

ข.    บีเป็นหัวคะแนนให้พรรคการเมืองท้องถิ่น

ค.    ก้อยเป็นผู้นำชาวบ้านปิดถนนเพื่อต่อรองกับรัฐบาลไม่ให้สร้างเขื่อน

ง.    แววและคนในชุมชน  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และชุมชน

๔.  บุคคลในข้อใดที่ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามหลักธรรม

ก.   สุรีย์  ทำบุญกับพระที่มีชื่อเสียงเท่านั้น

ข.   สุนี  บริจาคสิ่งของให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม

ค.   สุดา  ให้เพื่อนยืมเงินโดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๐

ง.   สุธี  ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามที่หัวคะแนนบอก

๕.   สถานภาพในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น

ก.    คมสัน  เป็นพี่ชายคนโตและมีน้องอีกสองคน

ข.    สันติ  เรียนหนังสือเก่งมาก จึงได้เป็นแพทย์ตามที่ตั้งใจ

ค.    สุรีย์  เป็นเลขานุการที่มีความรับผิดชอบจึงได้เลื่อนขั้นเงินเดือนให้สูงขึ้น

ง.    ปรีชา  ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะเขาทำงานเพื่อชุมชนดีมาก

 

 

๖.   เมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ คนไทยทุกคนจะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ข้อความดังกล่าวตรงกับข้อใด

ก.    สิทธิ                                                ข.    หน้าที่

ค.    เสรีภาพ                                           ง.    สถานภาพ

๗.   “พลเมืองดีจะเป็นผู้เคารพกฎหมาย  รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน” ข้อความข้างต้น  แสดงถึงความสำคัญของพลเมืองดีด้านใด

ก.    ด้านสังคม                                        ข.    ด้านเศรษฐกิจ

ค.    ด้านการเมืองการปกครอง                    ง.    ด้านวัฒนธรรม

๘.  ข้อใดกล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ไม่ถูกต้อง

ก.    ชาวไทยมีเสรีภาพในการร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมือง

ข.    ชาวไทยมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์

ค.    ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

ง.    การชุมนุมเรียกร้อง แสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาล ไม่สามารถทำได้เพราะจะทำให้เกิด

การแตกความสามัคคี

๙.   การกระทำข้อใดที่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นพลเมืองดี ด้านสังคม

ก.    การรู้จักเสียสละ

ข.    การร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อม

ค.    การดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ง.    การช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

๑๐. การปฏิบัติตนของบุคคลใดที่ไม่ถูกต้องกับสถานภาพและบทบาท

ก.    สุนิศา  เป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง และรับเฝ้าไข้พิเศษตามบ้านในเวลาว่าง

ข.    ครูปราณี  เป็นครูที่มีฐานะยากจน จึงต้องขายขนมให้นักเรียนในเวลาเรียนเพื่อเพิ่มรายได้

ค.    ดาบตำรวจทองใบ  เป็นจราจรที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างขยันขันแข็ง มีการใช้ลีลาต่างๆในการให้สัญญาณมือ

ง.    สุทิน  เป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็ง  เขาได้อุทิศตนในการหาวิธีใหม่ๆ

ในการรักษาโรคมะเร็ง

๑๑. การกระทำในข้อใด เป็นแนวทางป้องกันมิให้บุคคลทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

ก.    ผู้ใช้ถนนไม่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

ข.    นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ช่วยกันทำความสะอาดสวนสาธารณะ

ค.    ชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษาทางน้ำสาธารณะมิให้มีสิ่งกีดขวางและตื้นเขิน

ง.    รัฐบาลมีมาตรการในการควบคุมไม่ให้บุคคลทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง

 

๑๒. ในกรณีที่มีภาวการณ์จำเป็นเพื่อประโยชน์ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องตรากฎหมายใดขึ้นมาใช้ในภาวการณ์จำเป็นนี้

ก.    พระราชกำหนด                                ข.    พระราชบัญญัติ

ค.    พระราชกฤษฎีกา                                  ง.    กฎกระทรวง

๑๓. การแปรญัตติ อยู่ในวาระใดของกระบวนการตราพระราชบัญญัติ

ก.    วาระที่หนึ่ง                                      ข.    วาระที่สอง

ค.    วาระที่สาม                                       ง.    วาระที่สี่

๑๔. บุคคลในข้อใดที่ถือว่ายังเป็นผู้เยาว์อยู่

ก.    สมชายอายุ  ๒๑  ปีบริบูรณ์  ได้ไปเกณฑ์ทหารตามหน้าที่

ข.    สุดาอายุ  ๒๐  ปีบริบูรณ์  ได้ไปขอทำบัตรประจำตัวประชาชนเพราะทำบัตรเก่าหาย

ค.    สุชาติอายุ  ๑๗  ปีบริบูรณ์  จดทะเบียนสมรสกับปรานีโดยได้รับความยินยอมจากบิดามารดา

ง.    สมใจอายุ  ๑๘  ปีบริบูรณ์  ไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

๑๕. นายดำ  ทำบัตรประจำตัวประชาชนมาแล้วหกปี  เมื่อครบรอบวันออกบัตร นายดำจะต้องไปทำบัตรใหม่ภายในกี่วัน

ก.    ๓๐ วัน                                             ข.    ๖๐  วัน

ค.    ๙๐  วัน                                            ง.    ๑๒๐  วัน

๑๖. ข้อใดเป็นกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัว

ก.    การหมั้น                                          ข.    การเป็นทายาท

ค.    การทำพินัยกรรม                               ง.    การทำบัตรประจำตัวประชาชน

๑๗. ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดา  มารดา  หรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิง  เรียกว่าอะไร

ก.    ของหมั้น                                         ข.    สินสอด

ค.    สินสมรส                                         ง.    ทรัพย์สิน

๑๘. เอก  ได้หมั้นกับ แอน  โดยได้มอบแหวนเป็นของหมั้นและที่ดิน  เป็นสินสอด ต่อมา แอนเสียชีวิต  เอก  จะเรียกของหมั้นและสินสอดคืนได้หรือไม่

ก.    เอก  ไม่สามารถเรียกคืนของหมั้นและสินสอดคืน เนื่องจากแอนเสียชีวิต

ข.    เอก  สามารถเรียกคืนของหมั้นและสินสอดคืนได้ทั้งหมด  เพราะฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายที่ไม่

สามารถแต่งงานได้

ค.    เอก  สามารถเรียกแต่สินสอดคืนเท่านั้น  ส่วนของหมั้นคืนไม่ได้ เพราะเมื่อหมั้นแล้วของหมั้น

ต้องเป็นของฝ่ายหญิง

ง.    เอก  สามารถเรียกแต่ของหมั้นคืนเท่านั้น  ส่วนสินสอดคืนไม่ได้  เพราะเมื่อหมั้นแล้วสินสอด

เป็นของบิดามารดาฝ่ายหญิง เป็นค่าเลี้ยงดู

๑๙. ข้อใดเป็นการจดทะเบียนสมรสของคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ก.    บุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม

ข.    คู่สมรสที่มีอายุ ๑๕ ปีโดยบิดามารดาอนุญาต

ค.    มีการจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน

ง.    ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคู่สมรสอยู่แล้ว  แต่ไม่ได้อยู่ร่วมกัน

๒๐. นายเก่ง มีภรรยาชื่อ แก่น มีลูกชายสี่คน  ชื่อ กร ก้าน กิ่ง และกานต์  เก่งและแก่นช่วยกันทำมาหากิน

จนมีที่ดิน ๑๐๐ ไร่ ต่อมาเก่งเสียชีวิต  จะต้องมีการแบ่งสินสมรสและมรดกอยากทราบว่า แก่นจะได้รับ

ส่วนแบ่งเท่าไหร่

ก.    ที่ดิน  ๒๐ ไร่                         ข.    ที่ดิน  ๔๐  ไร่

ค.    ที่ดิน  ๕๐  ไร่                        ง.     ที่ดิน  ๖๐  ไร่

 

อ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ  ๒๑ – ๒๔

นายทองดีมีภรรยาซึ่งไม่มีรายได้ และมีบุตรอายุ ๑๔ ปี และ ๑๒ ปี กำลังเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษา  นายทองดีมีเงินเดือน เดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท เขาต้องชำระเบี้ยประกันชีวิต ๑๐,๕๐๐ บาท  ชำระดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ๗,๕๐๐ บาท และบริจาคเงินบำรุงการศึกษา  ๒,๐๐๐ บาท

๒๑. จากข้อความข้างบนนี้  นายทองดีมีเงินได้พึงประเมินเท่าใด

ก.    ๓๖๐,๐๐๐  บาท                                 ข.    ๓๖๓,๐๐๐  บาท

ค.    ๑๘๖,๐๐๐  บาท                                 ง.    ๑๑๒,๐๐๐  บาท

๒๒. ค่าลดหย่อนของนายทองดี  รวมทั้งหมดเท่าใด

ก.    ๑๑๒,๐๐๐  บาท                                 ข.    ๑๑๔,๐๐๐  บาท

ค.    ๑๕๖,๐๐๐  บาท                                 ง.    ๑๖๐,๐๐๐  บาท

๒๓. นายทองดีมีรายได้สุทธิเท่าใด

ก.    ๑๑๔,๐๐๐  บาท                                 ข.    ๑๕๖,๐๐๐  บาท

ค.    ๑๘๖,๐๐๐  บาท                                 ง.    ๓๖๐,๐๐๐  บาท

๒๔. นายทองดีต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินเท่าใด

ก.    ๑๕,๐๐๐  บาท                                   ข.    ๑๘,๐๐๐  บาท

ค.    ๓๖,๐๐๐  บาท                                   ง.    ๓,๖๐๐ บาท

๒๕. งานประเภทใดที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามไม่ให้ใช้แรงงานผู้หญิง

ก.    งานก่อสร้าง ขุดอุโมงค์ใต้ดิน

ข.    งานในโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง

ค.    งานในสถานเต้นรำ  หรือแหล่งบันเทิงต่างๆ

ง.    งานในโรงแรมที่ต้องทำระหว่างเวลา  ๒๒.๐๐ – ๐๖.๐๐ น.

๒๖. หน่วยงานในข้อใดจัดอยู่ในรูปแบบการบริหารราชการท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

ก.    เทศบาล  สุขาภิบาล

ข.    กรุงเทพมหานคร  เมืองพัทยา

ค.    เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล

ง.    องค์การบริหารส่วนตำบล   องค์การบริหารส่วนจังหวัด

๒๗. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไม่ถูกต้อง

ก.    ห้ามผู้ใดทำอันตรายแก่รังของสัตว์ป่า

ข.    ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

ค.    ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าสงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง

ง.     การกำหนดเขตห้ามล่าสัตว์บริเวณสถานที่ที่ใช้ในราชการจะติดประกาศไว้ในสถานที่

นั้นอย่างชัดเจน

๒๘. การทำกิจการเหมืองแร่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ  สามารถทำได้คราวละไม่เกินกี่ปี

ก.   ๑๐  ปี                                    ข.   ๒๐  ปี

ค.    ๓๐  ปี                                  ง.    ๔๐  ปี

๒๙. ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก.    เหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ สิ้นสุด โดยการทำรัฐประหาร

ข.    เหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ส่งผลให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการ

ค.    ผลของเหตุการณ์วันมหาวิปโยค  นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

ง.    เหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เกิดขึ้นในขณะที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี

๓๐. หลังเหตุการณ์  ๑๔ ตุลาคม  ๒๕๑๖ สิ่งที่แสดงถึงความตื่นตัวและสำนึกทางการเมืองของประชาชน

ในสังคมไทย

ก.   การทุจริตในรัฐบาลหมดไปอย่างสิ้นเชิง

ข.   มีการจัดตั้งกลุ่มร่วมรณรงค์เรียกร้องสิทธิของตนอย่างกว้างขวาง

ค.   ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลอย่างเต็มที่

ง.    เปิดเสรีในการรับรู้ข่าวสารและการวิพากษ์  วิจารณ์  การทำงานรัฐบาลอย่างไร้ขอบเขต

๓๑. หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) คือใคร

ก.    พลเอกชาติชาย  ชุณหวัณ                    ข.    พลตรีจำลอง  ศรีเมือง

ค.    พลเอกสุจินดา   คราประยูร                  ง.    พลเอกสุนทร  คงสมพงษ์

๓๒. การปฏิรูปการปกครอง เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน  พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นการยึดอำนาจการปกครองจากคณะรัฐบาลของใคร

ก.    นายสัญญา  ธรรมศักดิ์             ข.    พลเอกสุจินดา  คราประยูร

ค.    พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร             ง.    พลเอกชาติชาย   ชุณหวัณ

๓๓. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิรูปการปกครองในวันที่ ๑๙ กันยายน  พ.ศ. ๒๕๔๙

ก.    บริหารราชการส่อไปในทางทุจริต เอื้อประโยชน์พวกพ้อง

ข.    บริหารประเทศทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เป็นหนี้องค์กรต่างชาติ

ค.    มีพฤติกรรมแทรกแซงการทำงานและอำนาจขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

ง.    รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง แบ่งฝ่ายทำลายความสามัคคี

ของคนในชาติ

๓๔. พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์  เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่เท่าไหร่

ก.    คนที่ ๒๑                                          ข.    คนที่ ๒๒

ค.    คนที่ ๒๓                                         ง.    คนที่ ๒๔

๓๕. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม

ก.    มนุษย์มีระยะของทารกยาวนาน

ข.    ความต้องการของมนุษย์ในเรื่องปัจจัยสี่

ค.    มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ไม่ได้อาศัยวัฒนธรรม

ง.     ความต้องการความอบอุ่นและความปลอดภัย

๓๖. สถาบันสังคมใดที่มีบทบาทสำคัญในการอบรมขัดเกลา หล่อหลอมบุคลิกภาพของสมาชิกใหม่

ก.    สถาบันครอบครัว                               ข.   สถาบันการศึกษา

ค.    สถาบันศาสนา                                  ง.    สถาบันการเมืองการปกครอง

๓๗. สถาบันที่มีบทบาทในการควบคุมมาตรฐานความประพฤติของสมาชิกในสังคม นอกเหนือจากการควบคุมโดยกฎหมาย ช่วยให้สมาชิกมีความสุขใจ คือสถาบันใด

ก.    สถาบันเศรษฐกิจ                               ข.    สถาบันศาสนา

ค.    สถาบันครอบครัว                               ง.    สถาบันการเมืองการปกครอง

๓๘. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมไทย

ก.    วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่มีต้นกำเนิดในบริเวณเมโสโปเตเมีย

ข.    วัฒนธรรมไทยเป็นผลผลิตที่บรรพบุรุษของไทยได้สร้างสรรค์ขึ้นอย่างประณีตบรรจง

ค.    วัฒนธรรมไทยเกี่ยวโยงกับความคิดความเชื่อด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล

มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม  และมนุษย์กับมนุษย์

ง.    วัฒนธรรมไทยเป็นแบบแผนการดำรงชีวิตที่มาจากค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคม ที่

หลอมรวมให้คนไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

๓๙. ข้อใดเป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างจากข้ออื่น

ก.    พิธีเวียนเทียน                                    ข.    ตักบาตรเทโว

ค.    พิธีล้างบาป                                       ง.    ประเพณีวันวิสาขบูชา

 

๔๐. วัฒนธรรมอิสลามมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด

ก.    ลุ่มแม่น้ำไนล์                                    ข.    ลุ่มแม่น้ำสินธุ

ค.    ดินแดนชมพูทวีป                              ง.    เมโสโปเตเมีย

๔๑. ฉี่ผ่าว   หมายถึงอะไร

ก.    เครื่องแต่งกายของเกาหลี                    ข.    เครื่องแต่งกายของจีน

ค.    เครื่องแต่งกายของญี่ปุ่น                      ง.     เครื่องแต่งกายของเวียดนาม

๔๒. ประเทศใด เป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่คิดค้นตัวอักษรและกระดาษก่อนประเทศอื่น

ก.    ประเทศจีน                                       ข.    ประเทศญี่ปุ่น

ค.    ประเทศเกาหลี                                  ง.    ประเทศสิงคโปร์

๔๓. อาหารของชาติใดที่ได้รับอิทธิพลจากแหล่งอารยธรรมถึงสามแหล่ง

ก.    จีน                                                  ข.    อินเดีย

ค.    อาหรับ                                             ง.    ญี่ปุ่น

๔๔. ศิลปะและสถาปัตยกรรมของประเทศไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากประเทศอะไร

ก.    จีน                                                  ข.    ลาว

ค.    กัมพูชา                                            ง.    อินเดีย

๔๕. การสวมเสื้อที่เรียกว่า  บิชต์  เป็นการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาติใด

ก.   จีน                                                   ข.   อินเดีย

ค.   อาหรับ                                             ง.    ญี่ปุ่น

๔๖. ศาสนาในข้อใดที่มีแหล่งกำเนิดแตกต่างจากกลุ่ม

ก.    ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อ

ข.    ศาสนาเชนและลัทธิชินโต

ค.    ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม

ง.    ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนา

๔๗. ข้อใดไม่ใช่การกระทำที่นำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

ก.    การทดลองอาวุธนิวเคลียร์

ข.    การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์

ค.    การจัดงานมหกรรมอาหารเอเชีย

ง.    การสร้างหลักสูตรทางด้านภาษาในสถาบันการศึกษา

๔๘. กิจกรรมใดเป็นวัฒนธรรมที่ต่างจากกลุ่ม

ก.    การสร้างศูนย์ศึกษาทางภาษา

ข.    การประชุมพุทธศาสนาโลก

ค.    โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศ

ง.    การสร้างหลักสูตรทางด้านภาษา ในสถาบันการศึกษา

๔๙. วัฒนธรรมที่สร้างความสัมพันธ์และความสามัคคี คือข้อใด

ก.    วัฒนธรรมด้านการกีฬา

ข.    วัฒนธรรมด้านเนติธรรม

ค.    วัฒนธรรมด้านภาษาและการศึกษา

ง.    วัฒนธรรมด้านศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี

๕๐. วัฒนธรรมใดที่อาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิดต่อกัน

ก.   วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา

ข.    วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการศึกษา

ค.    วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับภาษา

ง.    วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับกฎหมาย

 

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

ปรินิพพาน (ตาย)

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี มีพุทธสาวกเป็นจำนวนมาก พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน (ดับ-ขัน-ธะ-ปะ-ริ-นิบ-พาน หมายถึง ตาย) ขณะพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่ใต้ต้นสาละ ณ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖...

About ครูออฟ 1185 Articles
https://www.kruaof.com