แป้นพิมพ์ (Keyboard)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลเพื่อสั่งให้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดำเนินการและแสดงผลออกทางจอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้าย ๆ กับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด กล่าวคือ มีแต่ละแป้นพิมพ์ตัวอักษรแถวบนหรือแถวล่างได้ แต่แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประมาณ 101-104 แป้น แป้นพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นมาทำหน้าที่ต่าง ๆกัน

แบ่งกลุ่มแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มแป้นพิมพ์ที่ใช้พิมพ์หรือเครื่องหมาย มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษหรือเรียกว่าแป้นตัวอักษร กล่าวคือ พิมพ์ตัวอักษร ก – ฮ และพิมพ์ตัวอักษร A – Z
  2. กลุ่มแป้นพิมพ์ที่ใช้แสดงหน้าที่พิเศษ หรืออาจเรียกว่า เป็นกลุ่ม Function Key มีตัวอักษร F1 – F12 กำกับ สำหรับเขียนแทนด้วยคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่กับโปรแกรม
  3. กลุ่มแป้นพิมพ์ทีใช้พิมพ์จำนวนเลข หรือเรียกว่า Numeric Key พิมพ์เลข1 – 0 และเครื่องหมาย + –

นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแป้นพิมพ์ที่มีไว้เพื่อเป็นแป้นพิมพ์คำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ได้แก่

Enter เป็นแป้นที่กดเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับคำสั่งไปปฏิบัติตามที่ต้องการ แป้นนี้เดิมชื่อCarriage Return เปลี่ยนมาเป็น Enter ในยุคของเครื่องพีซี มีทั้งในแป้นตัวอักษรและแป้นตัวเลข ใช้ได้กับกดเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่

Escape กดเพื่อยกเลิกการทำงานเดิมหรือจบการเล่นเกม การกดแป้นจะยกเลิกคำสั่งที่กำลังใช้งานย้อนกลับไปที่คำสั่งก่อนหน้า

Tiled สำหรับกดเปลี่ยนไปมาระหว่าภาษาไทยกับกาษาอังกฤษ

Caps Lock สำหรับยกแคร่ค้างไว้เพื่อพิมพ์อักษรแบบตัวพิมพ์ใหญ่ เมื่อกดแป้นนี้ ไฟบอกสภาวะ ทางขวามือจะติด ดังนั้น ถ้าการพิมพ์อักษรมีปัญหา ให้ดูว่าแป้นนี้ถูกกดค้างไว้หรือไม่

Shift แป้นยกแคร่ กดค้างไว้แล้วพิมพ์ ถ้าแป้นพิมพ์อักษรที่มีสองตัวบนล่างกดแป้นนี้เพื่อพิมพ์ตัวอักษรบน ถ้าเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่มีตัวเดียว กดเพื่อพิมพ์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่

Ctrl แป้นควบคุมกดค้างไว้แล้วกดอักษรตัวอื่นเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นCtrl+Alt+Delete เป็นการรีเซ็ทเครื่องใหม่, Ctrl + B ทำตัวอักษรหนา เป็นต้น

Tab ใช้กด เพื่อเลื่อน 1 ย่อหน้า

Space bar ใช้กดเพื่อเว้นวรรค

Alternate กดคู่กับแป้นอื่น ๆ เพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น Alt+X คือจบเกม Ctrl + Alt + Delete         รีเซ็ทเครื่องเหมือนการกดปุ่ม Reset

Backspace แป้นเลื่อนถอยหลัง กดเพื่อย้อนกลับไปทางซ้ายสำหรับพิมพ์ และลบตัวอักษรทางซ้ายทีเลื่อนไปแป้นควบคุม เป็นแป้นลูกศรชี้ไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง สำหรับควบคุมการเลื่อนตำแหน่งไปมาบนจอภาพ

Insert แทรกอักษร กดเพื่อกำหนดสภาวะพิมพ์แทรก หรือพิมพ์ทับ การทำงานปกติเป็นการพิมพ์แทรก

Delete กดเพื่อลบอักษรที่ Cursor ทับอยู่ หรือลบตัวที่อยู่ทางขวาของจุดแทรก (Cursor) เมื่อลบแล้วจะดึงอักษรทางขวามือมาแทนที่

Home กดเพื่อเลื่อนการทำงานไปยังตำแหน่งแรกของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่

End กดเพื่อกระโดดไปยังอักษรตัวสุดท้ายทางขวาของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่

Page Up กดเพื่อเลื่อนจอภาพขึ้นไปดูข้อความด้านบน

Page Down กดเพื่อจอภาพลงไปด้านล่าง

Num Lock กดเพื่อใช้แป้นตัวเลขทางขวา เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด ถ้าไม่เปิด แป้น Num Lock เป็นการใช้แป้นอักขระตัวล่างที่อยู่ในแป้นตัวเลข

Print Screen กดเพื่อพิมพ์ข้อความที่เห็นบนจอภาพออกทางเครื่องพิมพ์

Scroll Lock กดเพื่อล็อกบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานไม่ให้เลื่อนบรรทัด ถึงแม้จะกดแป้น Enter ก็ไม่มีผล เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด

Break หรือ Pause กดเพื่อหยุดการทำงานชั่วคราวยกเลิกโดยกดแป้นอื่น ๆ อีกครั้ง

แป้นคำสั่งคำนวณ

^  Caret อยู่เหนือเลข 6 ต้องกดปุ่ม Shitf ค้างไว้แล้วพิมพ์ หมายถึงการยกกำลัง

*   Asterisk หมายถึง การคูณ ใช้เครื่องหมายนี้เพื่อให้แตกต่างกับอักษร x

/  Slash หมายถึง การหาร ถ้าไม่ใช่การคำนวณ หมายถึงขีดทับ ต้องใส่สัญลักษณ์นำเพื่อให้ คอมพิวเตอร์รับเป็นค่าตัวอักษรในโปรแกรมตารางคำนวณ

แป้นอื่น ๆ

@  At sign เครื่องหมาย at หมายถึง จำนวนหน่วยทางบัญชี และเป็นตัวกำหนดตำแหน่งสำหรับเขียนโปรแกรมในโปรแกรมตระกูลฐานข้อมูลต่าง ๆ

# Number sign เครื่องหมายนัมเบอร์สำหรับกำกับตัวเลขบอกลำดับที่ทางคณิตศาสตร์ หมายถึงไม่ทับ

& Dollar sign เครื่องหมายเงินดอลลาร์ หรือ เป็น String สำหรับควบคุมตัวแปรประเภทตัวอักษรในภาษาเบสิก

& Ampersand เครื่องหมายเชื่อมคำ เช่น A&B

ปุ่ม F บนคีย์บอร์ด

หากพูดถึงปุ่มตระกูล F (Function) บนแป้นคีย์บอร์ด น่าจะเป็นปุ่มที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ต้องพบเห็นบ่อยๆ และคุ้นเคยกันดี เนื่องจากมันถูกวางเรียงอยู่แถวบนสุดของคีย์บอร์ด แถมยังมีจำนวนมากตั้งแต่ F1 ไปจนถึง F12
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าปุ่มตระกูล F เหล่านี้มีประโยชน์อย่างไรกันบ้าง เอาเป็นว่าเราลองมาทำความรู้จักคุณสมบัติเฉพาะตัวของปุ่มลัดเหล่านี้กันดีกว่า เพื่อว่าคราวต่อไปคุณจะได้ใช้ประโยชน์กับมันได้มากขึ้น

F1 – นี่คือปุ่มทางลัดเข้าสู่คู่มือช่วยเหลือ (Help) ของโปรแกรมต่างๆ และถ้าคุณกดปุ่ม Windows Key ตามด้วย F1 มันก็คือปุ่ม Help ของโปรแกรมไมโครซอฟท์นั่นเอง
F2 – ถ้าคุณกดปุ่มนี้ขณะอยู่บนจอเดสก์ท็อป มันคือการไฮไลต์โฟลเดอร์หรือไฟล์เพื่อเตรียมจะเปลี่ยนชื่อ และถ้าอยู่บนโปรแกรม Microsoft Word เมื่อคุณกดปุ่ม Ctrl + F2 มันคือการ Preview เอกสารก่อนพิมพ์
F3 – ปุ่มนี้ใช้เป็นทางลัดเข้าสู่ระบบ Search ของโปรแกรมต่างๆ
F4 – กดปุ่ม Alt + F4 คือการออกจากโปรแกรมที่กำลังใช้งาน
F5 – เมื่อกำลังท่องเว็บไซต์ กดปุ่มนี้คือการทำ Refresh หรือ Reload หน้าเว็บไซต์อีกครั้ง
F6 – คือปุ่มที่ใช้เลื่อน Cursor ไปยัง Address Bar ขณะใช้งานเว็บเบราว์เซอร์
F7 – กดปุ่มนี้เมื่ออยู่ใน Microsoft Word คือการเรียกเช็กระบบตรวจสอบคำผิด
F8 – ปุ่มลัดใช้เรียก Start Menu เวลาอยู่ใน Safe Mode
F9 – ปุ่มลัดเข้าสู่ระบบวัดระยะของโปรแกรม Quark 5.0
F10 – กดปุ่ม Shift + F10 คือการทำงานเสมือนคุณกำลังคลิกขวาที่เมาส์
F11 – กดปุ่มนี้เพื่อการเรียกดูเบราว์เซอร์แบบ Full Screen
F12 – ใช้เป็นคำสั่ง Save as เมื่ออยู่ในโปรแกรม Microsoft Word

วิธีการใช้งาน คีย์บอร์ด สำหรับสั่งงานต่าง ๆ แทนเมาส์เพื่อการทำงานที่รวดเร็วขึ้น

ปกติแล้ว การใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows มักจะมีการสั่งงานต่าง ๆ โดยใช้การกดปุ่มบน เมาส์ เป็นส่วนมาก ซึ่งบางครั้ง กว่าที่จะทำการสั่งงาน โดยใช้เมาส์เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง กว่าจะกด กว่าจะเลือกเมนูต่าง ๆ อาจจะไม่ทันใจกับผู้ใช้งาน ที่ใจร้อนบางท่าน ยังมีอีกวิธีหนึ่งครับ ที่เราจะสามารถสั่งงาน Windows ต่าง ๆ โดยการใช้ปุ่ม คีย์ลัด หรือ Short Key ของระบบWindows แทนการใช้เมาส์ ที่จะช่วยให้การสั่งงานแบบพื้นฐานต่าง ๆ ทำได้รวดเร็วขึ้น

Short Key คืออะไร

ยกตัวอย่างเช่น การใช้งานโปรแกรม Internet Explorer เมื่อต้องการจะสั่งให้มีการเปิดหน้าต่างใหม่ ปกติจะต้องใช้เมาส์ เลือกที่เมนู File เลือกที่ New และกดที่ Windows เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่ แต่ในการใช้ Short Key จะสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเพียงแค่กดปุ่ม Ctrl และ N พร้อมกัน ซึ่งจะให้ผลที่เหมือนกันทุกประการ โดยที่ใช้เวลาน้อยและสะดวกกว่าการใช้เมาส์มาก

Short Key มาตราฐานของระบบ Windows

ส่วนใหญ่ จะเป็นมาตราฐานเดียวกัน ซึ่งในบางครั้ง การใช้งานซอฟต์แวร์บางตัวที่เขียนสำหรับWindows ก็อาจจะใช้ คีย์แบบเดียวกันนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ ด้วย ทดลองใช้งานบ่อย ๆ แล้วจะคุ้นเคยเองนะครับ

– Alt + Tab ใช้สำหรับการเปลี่ยนหน้าต่างของซอฟต์แวร์ ที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น
– Ctrl + Esc ใช้สำหรับเรียก Start Menu ขึ้นมาใช้งาน
– Alt + F4 ใช้สำหรับปิดหรือออกจากโปรแกรม (Close) ที่เปิดใช้งานอยู่ขณะนั้น
– Ctrl + Alt + Del ใช้สำหรับการสั่งบูทเครื่องใหม่ กรณีที่ไม่สามารถสั่งงานต่าง ๆ ได้แล้ว
– Print Screen ใช้สำหรับการเก็บภาพหน้าจอขณะนั้นเก็บไว้ โดยจะนำไป past วางในโปรแกรมแต่งภาพได้
– Alt ใช้สำหรับการเรียก เมนูด้านบน โดยจะต้องใช้ปุ่มลูกศร สำหรับการเลือกทำงานควบคู่กันไปด้วย
– Esc ใช้สำหรับการยกเลิกการทำงาน หรือออกจากการตั้งค่าต่าง ๆ หรือแทนคำว่า Cancel เป็นส่วนมาก
– Enter ใช้สำหรับการยอมรับ หรือแทนการกด OK เป็นส่วนมาก
– Space Bar ใช้สำหรับการเลือกบนปุ่มที่มีการ high light ไว้ จะใช้งานคล้าย ๆ กับปุ่ม Enter
– Home หรือ Ctrl + Home ใช้สำหรับการเลื่อน Scrool Bar ไปที่ตำแหน่งแรกของหน้าต่างนั้น
– End หรือ Ctrl + End ใช้สำหรับการเลื่อน Scroll Bar ไปที่ตำแหน่งท้ายสุดของหน้าต่างนั้น
– Shift + ปุ่มลูกศร มักจะใช้แทนการเลือก ช่วงของตัวอักษรหรือข้อความนั้น สำหรับการแก้ไขหรือการ copy
– F1 มักจะใช้แทนความหมายของการเรียก Help File ขึ้นมาช่วยเหลือ
– F2 มักจะใช้แทนความหมายของการ Rename ชื่อไฟล์ หรือการแก้ไขข้อความต่าง ๆ
– F3 หรือ Ctrl + F3 ใช้สำหรับการค้นหาต่าง ๆ
– Ctrl + F ใช้สำหรับการค้นหาต่าง ๆ คล้ายกันกับ F3
– Ctrl + A ใช้สำหรับการเลือกทั้งหมดหรือแทนคำว่า Select All
– Ctrl + C ใช้สำหรับการ copy ภาพหรือตัวอักษรที่เลือก เก็บไว้
– Ctrl + X ใช้สำหรับการ cut ภาพหรือตัวอักษรที่เลือก เก็บไว้
– Ctrl + V ใช้สำหรับการ past ภาพหรือตัวอักษรที่ได้เก็บไว้จากการ copy หรือ cut

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

ปรินิพพาน (ตาย)

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี มีพุทธสาวกเป็นจำนวนมาก พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน (ดับ-ขัน-ธะ-ปะ-ริ-นิบ-พาน หมายถึง ตาย) ขณะพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่ใต้ต้นสาละ ณ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖...

About ครูออฟ 1185 Articles
https://www.kruaof.com